Connect with us

Breaking News

ประเพณีสรงน้ำ “กู่มหาธาตุ ” ต.เขวา อ.เมือง จ.มหาสารคาม

Published

on

ประเพณีสรงน้ำ “กู่” เทวสถานสมัยขอม เป็นประเพณีที่พี่น้องชาวอีสาน ที่มีกู่สมัยขอมตั้งอยู่ใกล้หมู่บ้าน ร่วมจัดงานประเพณี สรงน้ำกู่ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 สืบต่อกันมาทุกปี ตราบจนปัจจุบัน ดังเช่น เมื่อวันที่ 18-19 เม.ย.2562

องค์การบริหารส่วนตำบลเขวา ร่วมกับประชาชนในเขต ต.เขวา อ.เมือง จ.มหาสารคาม รวม 24 หมู่บ้าน ร่วมจัดงานนมัสการสรงน้ำกู่มหาธาตุ เนื่องจากมีความเชื่อสืบต่อกันมาว่าหากได้มาสักการบูชาสถานที่แห่งนี้จะได้อานิสงส์ และสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ โดยเฉพาะกู่ที่ปรากฏหลักฐานเชื่อว่าเคยเป็นอโรคยาศาล หรือเคยเป็นสถานพยาบาลในสมัยโบราณมาก่อน อาทิ กู่มหาธาตุ ตั้งอยู่ ต.เขวา อ.เมือง จ.มหาสารคาม และกู่สันตรัตน์ อ.นาดูน จ.มหาสารคาม เป็นต้น

 

สำหรับ กู่มหาธาตุ หรือปรางค์กู่บ้านเขวา เป็นอโรคยาศาล หรือโรงพยาบาลโบราณ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งราชอาณาจักรเขมร ที่โปรดให้สร้างอโรคยาศาลขึ้นจำนวน 102 แห่ง ทั่วพระราชอาณาจักร เพื่อเป็นสถานที่รักษาพยาบาลให้กับประชาชน นอกจากสร้างสถานพยาบาล ยังสร้างศาสนสถานประจำสถานพยาบาลไว้คู่กันด้วยทุกแห่ง

ภายในประดิษฐาน “พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตพระพุทธเจ้า” เป็นพระพุทธเจ้าตามคติของมหายาน พระนามของท่านหมายถึงพระตถาคตเจ้าผู้เป็นบรมครูทางการแพทย์

ที่กู่มหาธาตุแห่งนี้ พบรูปเคารพ “พระไภษัชยคุรุไวทูรยประภาตถาคตพระพุทธเจ้า” เช่นกัน เป็นหลักฐานยืนยันว่าสถานที่แห่งนี้ เคยเป็นอโรคยาศาลมาก่อน

 

นายสมชาติ มณีโชติ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ให้ความเห็นกรณีวัฒนธรรมแบบเขมรที่ปรากฏอยู่ในพื้นที่มหาสารคามว่า จากหลักฐานประเภทศิลปะโบราณวัตถุสถานแบบเขมรที่กระจายอยู่หลายพื้นที่ทั่วทั้งจังหวัดมหาสารคาม ได้รับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่ได้แผ่อิทธิพลผ่านมาทางวัฒนธรรม “ขอม” ที่เป็นโบราณวัตถุสถานสร้างขึ้นเนื่องในสายวัฒนธรรมแบบเขมร โดยได้รับอิทธิพลให้เห็นในรูปแบบปราสาท

ลักษณะการก่อสร้างได้รับอิทธิพลทั้งลักษณะรูปแบบการก่อสร้างและคติความเชื่อมาจากอาณาจักรขอม หรือเขมรโบราณ จากเมืองพระนคร หรืออาณาจักรเขมรโบราณในเขตเมืองเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา มาไม่น้อยกว่าราวพุทธศตวรรษที่ 15 และต่อเนื่องมาจนถึงราวพุทธศตวรรษที่ 18

ทั้งนี้ในบรรดาอาคารสิ่งก่อสร้างในสายวัฒนธรรมเขมร ส่วนใหญ่มีทั้งใช้อิฐ ศิลาทรายและศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้างและเรียกอาคารเหล่านี้ว่า ปราสาท หรือปราสาทหิน ใช้เป็นศาสนสถานในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาทั้งในศาสนาฮินดูและพระพุทธศาสนานิกายมหายาน สถานที่ปราสาทขอมโบราณตั้งอยู่จึงเป็น หลักฐานยืนยันว่าดินแดนเหล่านี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรขอม ที่เคยเจริญรุ่งเรืองมาก่อน ภายหลังชาวอีสานตามความเชื่อวัฒนธรรมลาว ได้เรียกปราสาทขอมเหล่านี้ว่า “กู่” และกู่บางแห่งก็มีการนำพระพุทธรูปเข้าไปประดิษฐานไว้เพื่อกราบไหว้บูชา

กู่โบราณสถานสมัยขอมในพื้นที่ของมหาสารคาม มีอายุราว 800 ปี นิยมสร้างด้วยศิลาแลง กระจายอยู่ในหลายพื้นที่ทั่วทั้งจังหวัดและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่ได้รับความนิยม อาทิ กู่บ้านแดง อยู่ในเขต อ.วาปีปทุม กู่สันตรัตน์ อยู่ในเขต อ.นาดูน กู่ศาลานางขาว ในเขต อ.นาดูน กู่บ้านเขวา ในเขต อ.เมือง ปราสาท กู่โนนพระบ้านตะคุ อ.แกดำ เป็นต้น รวมทั้งมีการขุดพบศิลาจารึก และประติมากรรมรูปเคารพแบบเขมรอยู่กับโบราณสถานเหล่านั้นด้วย

สำหรับกู่ที่เป็นอโรคยาศาล ดูได้จาก 1.แผนผังของกู่จะเหมือนกันรวมทั้งวัสดุที่นำมาสร้างจะเป็นศิลาแลงทั้งหมด 2.กำแพงล้อมรอบกู่ทั้ง 4 ทิศจะมีประตูเข้าออกทางเดียวคือด้านตะวันออกหรือที่เรียกว่าโคปุระ 3.มีปราสาทประธานหลังเดียวหันหน้าไปทางทิศตะวันออก 4.ภายในกำแพงด้านปราสาทประธานทิศใต้จะมีอาคารสี่เหลี่ยมผืนผ้า 1 หลังหันหน้าไปทางทิศตะวันตกอาคารนี้ นักโบราณคดีเรียกว่าบรรณาลัย

ปัจจุบันโบราณสถานสมัยขอมเหล่านั้น ได้กลายเป็นสถานที่ ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม รวมทั้งมีการปลุกจิตสำนึกให้ชุมชนร่วมกันอนุรักษ์โบราณสถานสมัยขอมเหล่านี้ไว้ให้อยู่คู่ชุมชนสืบไป

ที่มา: ข่าวสด

Breaking News

ดึงงบฯกลาง 2 พันล้าน ช่วยค่าไฟกลุ่มเปราะ

Published

on

(เพิ่มเติม…)

Continue Reading

Breaking News

ป.ป.ช. แจงฟัน ‘ครูชัยยศ’ ไม่ใช่ปมแบ่งข้าวนักเรียนยากจน

Published

on

(เพิ่มเติม…)

Continue Reading

Breaking News

ลุ้น! เคาะ “ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ” ทุกจังหวัด พรุ่งนี้

Published

on

(เพิ่มเติม…)

Continue Reading

Trending

Copyright © 2023 katipnews.com กระติบนิวส์ best counter