เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม นางประพันธ์ศิริ สุเสารัจคณบดี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒจ (มศว) ประธานสภาคณบดี คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย (ส.ค.ศ.ท.) กล่าวถึงกรณีที่ คณะกรรมการคุรุสภาที่มี นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธานเห็นชอบในหลักการให้กลับไปผลิตครู 4 ปี โดยได้ตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งมีนายไพฑูรย์ สินลารัตน์ อดีตประธานกรรมการคุรุสภาเป็นประธาน ไปจัดทำข้อเสนอการผลิตครูทั้งระบบ ว่า ข้อเสนอที่ให้กลับไปผลิตครู 4 ปี มีงานวิจัยรองรับส่วนหนึ่งแล้ว การผลิตครูไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนปี แต่ขึ้นอยู้กับกระบวนการ ขณะเดียวกันข้อเสนอดังกล่าวยังเกิดจากผลผลิตวิเคราะห์ภาพรวมความได้เปรียบเสียเปรียบทางเศรษฐกิจ ซึ่งผู้ปกครองต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ขณะที่รัฐบาลเปิดโอกาสให้เด็กที่เรียน 4 ปี มาเป็นครูได้มากขึ้น จึงเกิดคำถามว่า “ทำไมเด็กที่เรียนครูโดยตรงถึงต้องเรียน 5 ปี ทั้งที่เรียน 4 ปี ก็เป็นครูได้และตรงสาขากว่า”
“เรื่องนี้ไม่ใช่กลับไป กลับมา เดิมเราปรับให้เรียนครู 5 ปี เพราะต้องการยกระดับวิชาชีพครูให้เท่ากับกลุ่มแพทย์ และหวังว่าจะได้รับการเพิ่มเงินเดือนเท่าหมอ จึงต้องเรียนเพิ่ม แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ขึ้นเงินเดือนจริง ทำให้เด็กที่เรียนครูสูญเสียโอกาสในการทำงานไป 1 ปี แต่ ส.ค.ศ.ท. ก็ยอมรับว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ การจะปรับเหลี่ยนอะไรต้องทำอย่างรอบครอบ ดังนั้น ส.ค.ศ.ท. จะทำการวิจัย และศึกษาข้อมูลให้รอบด้าน ทั้งจากนักศึกษา ประชาชน นักวิชาการ และผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียทุกคน ก่อนจัดทำข้อเสนอให้บอร์ดคุรุสภาพิจารณาอีกครั้ง” ประธาน ส.ค.ศ.ท. กล่าว!!
ที่มา:MATICHON ONLINE