Connect with us

อาชีพเกษตร

เกษตรกรเฮลั่นทุ่ง! รับสมัคร 1 ตำบล 1 กลุ่มเศรษฐกิจทฤษฎีใหม่

Published

on

1ตำบล1กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่

ข่าวดี “โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่” เตรียมเปิดรับสมัคร 27 ส.ค.-2 ก.ย.นี้

เกษตรฯ เตรียมเปิดรับสมัครเกษตรกรเข้าร่วม “โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่” 27 ส.ค.นี้ หวังฟื้นฟูภาคการเกษตร จากผลกระทบ โควิด-19

ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ “โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่” ซึ่งเป็นโครงการภายใต้แผนงานสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานราก เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2563 โดยขอใช้จ่ายเงินกู้ภายใต้แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) กรอบวงเงิน 9,805.707 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินงาน กรกฎาคม 2563 – กันยายน 2564 นั้น

นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า  “โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่” มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการพัฒนาพื้นที่จุดเรียนรู้ในรูปแบบหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ และเพิ่มพื้นที่เก็บกักน้ำสำหรับทำการเกษตร ตลอดจนพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำด้วยระบบและวิธีการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นการฟื้นฟูภาคการเกษตรภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยมุ่งเน้นเกษตรกรที่มีความตั้งใจเอาใจใส่อย่างจริงจัง ต่อยอด เพิ่มรายได้ กำหนดเป้าหมายเกษตรกร 64,144 ราย (16 ราย/ตำบล) เป้าหมายการจ้างงานเกษตรกร 32,072 ราย (8 ราย/ตำบล) ครอบคลุมพื้นที่ 4,009 ตำบล 75 จังหวัด

ซึ่งภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2563 ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้พิจารณาเห็นชอบกรอบแนวทางการดำเนินโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ และการ “จ้างแรงงานเกษตรทฤษฎีใหม่ระดับตำบล” โดยกำหนดคุณสมบัติเกษตรกรและผู้รับจ้างงาน ดังต่อไปนี้

ทั้งนี้ คุณสมบัติเกษตรกร โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่  ต้องเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือเกษตรกรทั่วไป หรือ “ทายาทเกษตรกร” หรือ “แรงงานคืนถิ่น” หรือ “อาสาสมัครเกษตรกร” ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  มีอายุระหว่าง 18 – 60 ปี และมีสัญชาติไทย มีพื้นที่ที่ใช้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ ต้องเป็นพื้นที่ที่เป็นผืนเดียวกันไม่น้อยกว่า 3 ไร่ และเป็นพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิถูกต้องตามกฎหมาย โดยเอกสารสิทธิต้องเป็นของผู้สมัครหรือเป็นของทายาทของผู้สมัคร (บิดากับบุตร มารดากับบุตร สามีกับภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมาย) และผู้สมัครต้องมีที่พักอาศัยในพื้นที่ที่ใช้สมัครเข้าร่วมโครงการ  เจ้าของเอกสารสิทธิ ต้องยินยอมให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ใช้ประโยชน์จากที่ดินเพื่อดำเนินโครงการฯ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 7 ปี โดยมีการลงลายมือชื่อหรือประทับลายนิ้วมือในหนังสือยินยอม สำหรับผู้สมัครและพื้นที่ที่ใช้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ ต้องไม่อยู่ในโครงการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่  (5 ประสาน) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ส่วนคุณสมบัติของผู้รับจ้างงาน โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ต้องเป็นเกษตรกรทั่วไป หรือทายาทเกษตรกร หรือแรงงานคืนถิ่น หรืออาสาสมัครเกษตรกรในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  อายุระหว่าง 18 – 60 ปีบริบูรณ์ และมีสัญชาติไทย  วุฒิการศึกษา ไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่า  มีที่พักอาศัยอยู่ในตำบลที่สมัครเข้าร่วมโครงการฯ  ต้องมีอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ (smartphone) ฯลฯ

“ไม่เป็นข้าราชการประจำ หรือ ข้าราชการบำนาญ รวมทั้ง ข้าราชการการเมือง ลูกจ้างของกระทรวง กรมที่มีฐานะเทียบเท่าพนักงานส่วนท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น และไม่เป็นลูกจ้างเอกชน  ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง  ต้องไม่เป็นเกษตรกรที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรมปรับปรุงแปลงตาม โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่  ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคติดต่อร้ายแรง”

ทั้งนี้ เกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ สามารถตรวจสอบคุณสมบัติและยื่นใบสมัครด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ http://ntag.moac.go.th หรือยื่นใบสมัครกับเจ้าหน้าที่เกษตรตำบล หรือที่สำนักงานเกษตรอำเภอ ตั้งแต่ 27 สิงหาคม – 2 กันยายน 2563

นายอนันต์ กล่าวว่า จากการขับเคลื่อน โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ดังกล่าว คาดว่าจะเพิ่มพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืนในรูปแบบเกษตรทฤษฎีใหม่รวม 192,432 ไร่ ส่งผลให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ มีพื้นที่กักเก็บน้ำเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 2,100 ลูกบาศก์เมตร/ราย เกษตรกรได้รับการพัฒนาให้มีความมั่นคงในอาชีพทำเกษตรกรรมยั่งยืน และมีแปลงต้นแบบเพื่อการเรียนรู้ด้านเกษตรทฤษฎีใหม่ 64,144 คน รวมทั้งเกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ในพื้นที่จำนวน 32,072 รายอีกด้วย”

ข่าวเศรษฐกิจ

เช็คเงินประกันรายได้ข้าวปี 65/66 งวดที่ 7 เงินเกษตรกร เข้าแล้วกี่บาท

Published

on

เช็คประกันรายได้ข้าว 2565.66 งวดที่ 7

เงินเกษตรกร เข้าแล้ว เช็คเงินประกันรายได้ข้าว 65/66 เงินช่วยเหลือเกษตรกร ธ.ก.ส. เริ่มจ่ายเงินเยียวยาเกษตรกร โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 งวดที่ 7 วันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 หากเงินประกันรายได้ไม่เข้า ติดต่อสอบถาม กรมส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดหรือ ธ.ก.ส. ใกล้บ้านได้

(เพิ่มเติม…)

Continue Reading

Breaking News

เช็คเงินประกันรายได้ข้าวปี 65/66 เงินช่วยเหลือเกษตรกร ไร่ละ 1,000 บาท โอนเงินแล้ว

Published

on

เงินประกันรายได้ข้าวเข้าบัญชีแล้ว (1)

เช็คเงินประกันรายได้ข้าว 65/66 และเงินช่วยเหลือเกษตรกร ไร่ละ 1,000 บาท ธ.ก.ส.โอนเงินเกษตรกร เข้าบัญชีแล้ว เช็คเงินประกันราคาข้าว ปี 65/66 และจังหวัดไหนบ้างที่ได้เงิน ธ.ก.ส. โอนเข้าบัญชีเกษตรกร

เช็คเงินประกันรายได้ข้าว 2565/66 

โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 หรือ ประกันรายได้ข้าว ปี ธ.ก.ส. จะโอนเงินประกันราคาข้าว ปี 65/66 ล่าสุด เข้าบัญชีของเกษตรกร สำหรับเกษตรกรที่แจ้งวันเก็บเกี่ยวก่อนวันที่ 15 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 ครอบคลุมกลุ่มเกษตรกร 73% ของเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร โดยมีราคาเกณฑ์ กลางอ้างอิงและส่วนต่างการชดเชยสำหรับเกษตรกรที่แจ้งเก็บเกี่ยวในแต่ละงวด สำหรับในงวดที่ 7 – งวดที่ 33 ก็จะประกาศทุก 7 วัน ขอให้ติดตามการประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงได้ที่ เว็บไซต์กรมการค้าภายใน www.dit.go.th หรือเพจเฟซบุ๊ก กรมการค้าภายใน DIT วิทยุชุมชน หรือเสียงตามสาย

เช็คเงินประกันราคาข้าวปี 65/66 ล่าสุด

ธ.ก.ส. จะโอนเงินประกันราคาข้าว ปี 65/66 ล่าสุด  งวดที่ 1-6 สำหรับเกษตรกรที่แจ้งวันเก็บเกี่ยวก่อนวันที่ 15 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565ืรายละเอียดดังนี้

  1. งวดที่ 1 เก็บเกี่ยวก่อน 15 ตุลาคม 2565
    • ข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ข้าวเปลือกปทุมธานี ไม่ต้องจ่าย เพราะราคาสูงกว่าที่ประกันรายได้
    • ข้าวเปลือกเจ้า ราคา 9,583.20 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 416.80 บาท ได้รับเงินสูงสุด 12,504 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 453,887 ครัวเรือน
    • ข้าวเปลือกเหนียว ราคา 11,140.10 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 859.90 บาท ได้รับเงินสูงสุด 13,758.40 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 50,443 ครัวเรือน 
เงินประกันรายได้ข้าว งวดที่ 1

งวดที่ 2 เก็บเกี่ยว 15 – 21 ตุลาคม 2565

  • ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคา 15,401.02 บาทต่อตัน
  • ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคา 14,514.52 บาทต่อตัน
  • ข้าวเปลือกปทุมธานี ราคา 11,357.06 บาทต่อตัน ไม่ต้องจ่าย เพราะราคาสูงกว่าที่ประกันรายได้
  • ข้าวเปลือกเจ้า ราคา 9,555.32 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 444.68 บาท ได้รับเงินสูงสุด 13,340.40 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 49,175 ครัวเรือน
  • ข้าวเปลือกเหนียว ราคา 11,606.47 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 393.53 บาท ได้รับเงินสูงสุด 6,296.48 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 57,620 ครัวเรือน
เงินประกันรายได้ข้าว งวดที่ 2

งวดที่ 3 เก็บเกี่ยว 22 – 28 ตุลาคม 2565

  • ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคา 15,450.84 บาทต่อตัน
  • ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคา 14,518.91 บาทต่อตัน
  • ข้าวเปลือกปทุมธานี ราคา 11,304.50 บาทต่อตัน ไม่ต้องจ่าย เพราะราคาสูงกว่าที่ประกันรายได้
  • ข้าวเปลือกเจ้า ราคา 9,551.88 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 448.12 บาท ได้รับเงินสูงสุด 13,443.60 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 30,138 ครัวเรือน
  • ข้าวเปลือกเหนียว ราคา 11,719.40 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 280.60 บาท ได้รับเงินสูงสุด 4,489.60 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 36,047 ครัวเรือน
เงินประกันรายได้ข้าว งวดที่ 3

งวดที่ 4 เก็บเกี่ยว 29 ตุลาคม – 4 พฤศจิกายน 2565

  • ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคา 15,385.04 บาทต่อตัน
  • ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคา 14,001.46 บาทต่อตัน
  • ข้าวเปลือกปทุมธานี ราคา 11,143.90 บาทต่อตัน ไม่ต้องจ่าย เพราะราคาสูงกว่าที่ประกันรายได้
  • ข้าวเปลือกเจ้า ราคา 9,532.63 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 467.37 บาท ได้รับเงินสูงสุด 14,021.10 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 50,472 ครัวเรือน
  • ข้าวเปลือกเหนียว ราคา 11,982.94 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 17.06 บาท ได้รับเงินสูงสุด 272.96 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 120,666 ครัวเรือน
เงินประกันรายได้ข้าว งวดที่ 4

·  งวดที่ 5 เก็บเกี่ยว 5 – 11 พฤศจิกายน 2565
 

  • ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคา 15,009.64 บาทต่อตัน
  • ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคา 14,197.71 บาทต่อตัน
  • ข้าวเปลือกเหนียว ราคา 12,225.53 บาทต่อตัน ไม่ต้องจ่าย เพราะราคาสูงกว่าที่ประกันรายได้
  • ข้าวเปลือกปทุมธานี ราคา 10,874.04 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 125.96 บาท ได้รับเงินสูงสุด 3,149 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 6,268 ครัวเรือน
  • ข้าวเปลือกเจ้า ราคา 9,467.85 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 532.15 บาท ได้รับเงินสูงสุด 15,964.50 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 53,964 ครัวเรือน
เงินประกันรายได้ข้าว งวดที่ 5

งวดที่ 6 เก็บเกี่ยว 12 – 18 พฤศจิกายน 2565  โอนพร้อมกันทั่วประเทศ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2565

  • ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคา 14,140.32 บาทต่อตัน
  • ข้าวเหนียว ราคา 12,188.36 บาทต่อตัน ไม่ต้องจ่าย เพราะราคาสูงกว่าที่ประกันรายได้
  • ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคา 14,603.47 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 396.53 บาท ได้รับเงินสูงสุด 5,551.42 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 856,336 ครัวเรือน
  • ข้าวเปลือกปทุมธานี ราคา 10,556.81 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 433.19 บาท ได้รับเงินสูงสุด 10,829.75 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 5,149 ครัวเรือน
  • ข้าวเปลือกเจ้า ราคา 9,370.09 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 629.91 บาท ได้รับเงินสูงสุด 18,897.30 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 47,176 ครัวเรือน

เงินช่วยเหลือเกษตรกร ไร่ละ 1,000 บาท

โครงการจ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกรค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าวการปีการผลิต 2565/66 (โครงการไร่ละ 1,000 บาท) เป็นเงินช่วยเหลือเกษตรกร ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 ไร่ หรือไม่เกิน 20,000 บาทต่อครัวเรือน 

เงินเกษตรกร ไร่ละ 1,000 บาท เข้าวันไหน

  • 24 พ.ย. 2565 โอนรวม 804,017 ครัวเรือน จำนวนเงิน 10,015.485 ล้านบาท ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ เพชรบูรณ์ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ อุทัยธานี ตาก เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน และจังหวัดลำพูน

  • 25 พ.ย. 2565 โอนรวม 985,871 ครัวเรือน จำนวนเงิน 10,841.001 ล้านบาท ในพื้นที่จังหวัดลำปาง น่าน แพร่ อุดรธานี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และ จังหวัดอุบลราชธานี

  • 26 พ.ย. 2565 โอนรวม 978,459 ครัวเรือน จำนวนเงิน 11,036.883 ล้านบาท ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ นครราชสีมา และจังหวัดยโสธร

  • 27 พ.ย. 2565 โอนรวม 980,489 ครัวเรือน จำนวนเงิน 11,369.183 ล้านบาท ในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู หนองคาย มุกดาหาร บึงกาฬ ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และจังหวัดชัยภูมิ

  • 28 พ.ย. 2565 โอนรวม 546,458 ครัวเรือน จำนวนเงิน 7,354.491 ล้านบาท ในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ  ชัยนาท นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง สมุทรปราการ สระแก้ว กาญจนบุรี นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สุพรรณบุรี กระบี่ ชุมพร พังงา ภูเก็ต ระนอง สุราษฎร์ธานี ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พัทลุง ยะลา สงขลา สตูล ก.ท.ม. และจังหวัดเลย

เช็คเงินประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66

  1. เข้าเว็บไซต์ chongkho.inbaac.com
  2. กรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมกดค้นหา
  3. สำหรับผู้ที่ได้รับเงินระบบจะขึ้นข้อมูลว่า “โอนเงินเรียบร้อยแล้ว” โดยจะแสดงชื่อโครงการ, เลขที่บัญชี, วันที่โอน, สาขา ธ.ก.ส. และสถานะ
  4. ทั้งนี้ การเช็คเงินประกันรายได้ข้าว 2564 หากผู้ที่ไม่ใช่เกษตรกรตรวจสอบระบบจะขึ้นข้อมูลว่า “ไม่พบข้อมูลการลงทะเบียน (โปรดติดต่อหน่วยงานที่รับขึ้นทะเบียนเกษตรกรตามชนิดพืชที่ได้รับสิทธิตามโครงการ)”
  5.  
  6. กรณีที่ลูกค้าสมัครใช้บริการ BAAC Connect สามารถแจ้งเตือนเงินเข้าบัญชีผ่าน LINE Official BAAC Family หรือดาวน์โหลด แอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile ตลอด 24 ชั่วโมง 
  7.  
  8. ทั้ง 2 โครงการพร้อมโอนงวดแรก วันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 และเกษตรกรสามารถตรวจสอบผลการโอนเงินได้ทางแอปพลิเคชั่น ธ.ก.ส. A-Mobile และ A-Mobile Plusตลอด 24 ชั่วโมงและจะมีข้อความแจ้งเตือนเงินเข้าบัญชีผ่าน LINE Official BAAC Family กรณีที่ลูกค้าสมัครใช้บริการ BAAC Connect รวมถึงสามารถเบิกถอนเงินสดผ่านตู้ ATM ของ ธ.ก.ส. ทั่วประเทศ

Continue Reading

ข่าวเด่น

ก.เกษตรและสหกรณ์ เตรียมจ้างงาน 86,000 คน งบกว่า 5,336 ล้านบาท หวังสร้างรายได้เสริมให้พี่น้องเกษตรกร

Published

on

กรมชลประทานจ้างงาน

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมช่วยเหลือประชาชน!!  ประกาศเตรียมเปิดจ้างแรงงานชลประทานปี 66 หวังสร้างรายได้เสริมให้พี่น้องเกษตรกร ตั้งเป้าหมาย 86,000 คน วงเงินกว่า 5,336 ล้านบาท

(เพิ่มเติม…)

Continue Reading

Trending

Copyright © 2022 katipnews.com กระติบนิวส์