วันที่ 1 กันยายน 2563 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยระหว่างงานกิจกรรมจับคู่เจรจาธุรกิจออนไลน์สินค้ายางพาราและผลิตภัณฑ์ยางและประชุมรับฟังความคิดเห็นจากสหกรณ์ผุ้ผลิตยางพาราว่า ขณะนี้ทิศทางราคายางพาราในประเทศปรับตัวดีขึ้น จากมาตรการเชิงรุกของรัฐบาล
ทั้งเร่งผลักดันส่งออก รวมไปถึงการจัดกิจกรรมส่งเสริมการส่งออก เจรจาจับคู่ธุรกิจการค้า จัดคณะร่วมออกงานแสดงสินค้า และการส่งเสริมใช้ยางพาราภายในประเทศ โดยล่าสุด ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้นำยางพาราไปใช้ในการทำแผ่นกันชน หลักกิโล
สำหรับราคายางในประเทศ ขณะนี้ ราคายางแผ่นรมควัน กิโลกรัมละ 58 – 59 บาท ยางแผ่นดิบ กิโลกรัมละ 56 บาท น้ำยางข้น กิโลกรัมละ 50 บาท ยางก้อนถ้วย กิโลกรัมละ 19 – 20 บาท ส่วนราคา F.O.B. ราคาขายล่วงหน้า ยางแผ่นรมควัน ราคา 63.15 บาทต่อกิโลกรัม ยางแผ่นดิบ 56.31 บาทต่อกิโลกรัม น้ำยางข้น 51.50 บาทต่อกิโลกรัม ยางก้อนถ้วย 20 บาทต่อกิโลกรัม
“ประกอบกับปัญหาโควิด-19 ทำให้มีความต้องการถุงมือยางธรรมชาติดสูงขึ้น และสินค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์ยาง จึงส่งผลต่อราคายางพาราให้ขยับขึ้น นอกจากนี้ จากการไปทำข้อตกลงในการรับซื้อยางพารากับต่างประเทศ ตนก็จะเร่งรัดให้มีการส่งมอบให้มากขึ้น ซึ่งทำสัญญาไว้ที่ 500,000 ตัน มูลค่าอยู่ที่ 48,000 ล้านบาท”
นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ การยางแห่งประเทศไทย และภาคเอกชน ร่วมจัดงาน Thailand Rubber Expo ภายใต้คอนเซ็บ ตลาดนำการผลิต ในต้นเดือนธันวาคม 2563 นี้ เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นการใช้ยางพารา ปัจจุบัน 85% ส่งออกยางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง 15% ใช้ภายในประเทศ
ทั้งนี้มีเป้าหมายที่จะขยายการใช้ภายในประเทศเพิ่มขึ้น 16-20% ให้ได้ ขณะที่ การส่งออกยางตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม 2563 อยู่ที่ ประมาณ 300,000 ล้านบาท
นายจุรินทร์ กล่าวอีกว่า สำหรับกิจกรรมการเจรจาจับคู่ธุรกิจเพื่อผลักดันการส่งออกยางพาราของไทย ซึ่งดำเนินการมาทั้งสิ้น 69 คู่ โดยมีผู้นำเข้าทั้งหมด 20 ประเทศ และผู้ส่งออกยางพาราไทย 42 ราย สามารถทำสัญญาซื้อขายไปแล้วถึง 23,000 ตัน มูลค่า 1,450 ล้านบาท
“20 ประเทศ อาทิ จีน เกาหลี ไต้หวัน อินเดีย เช็ก ฝรั่งเศส ฮังการี รัสเซีย สหราชอาณาจักร มาเลเซีย กัมพูชา เวียดนาม เมียนม่า อินโดนีเซีย ตุรกี อียิปต์ ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐและอาร์เจนตินา”
อย่างไรก็ดี กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการผลักดันส่งออกสินค้ายางพาราไทย เพื่อให้ราคายางพารามีทิศทางที่ดีขึ้น รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิตด้วย พร้อมทั้ง จะส่งเสริมให้ใช้นำน้ำยางพารามาทำยางรถยนตร์ เพราะเดิมใช้ยางแผ่นและยางแท่งไปทำยางรถยนต์ ซึ่งต้องผ่านกระบวนการผลิตหลายขั้นตอน แต่หากสามารถนำน้ำยางพารามาใช้ได้ก็จะช่วยลดขั้นตอนการผลิตไปได้มาก
ส่วนการรักษาเสถรียภาพดูแลราคายางพารา ได้มีการตั้งหน่วยรักษาเสถียรภาพราคายาง ขึ้นมาดูแล ส่วนด้านกรมการค้าภายใน มีมาตรการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อตรวจสต๊อกของเอกชน ให้เร่งการรับซื้อยาง เพราะมีเอกชนบางส่วนใช้สิทธิ์เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำที่รัฐบาลอุดหนุน 2% ต่อปีมีการรับซื้อยางเก็บสต๊อกจริงหรือไม่ ซึ่งจะมีส่วนให้มีการเร่งซื้อยางเข้าสต๊อกมากขึ้น
ข้อมูลข่าวจาก ประชาชาติ