ไพรินทร์’ ดันภาคอีสาน ฮับโรงงานประกอบรถไฟฟ้า คาดตั้งโรงงานปีหน้า ฟุ้งต่างชาติทั้ง ญี่ปุ่น-จีน-เกาหลี-เยอรมัน สนใจลงทุน – ปลายปีนายกฯ ตู่ เตรียมประกาศนโยบาย ส่งเสริมการลงทุน
ดันอีสานฮับโรงงานประกอบรถไฟฟ้า – นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า ประเทศไทยกำลังพัฒนาโครงการถไฟฟ้า ในเมือง 10 สาย รวมทั้งเร่งพัฒนารถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) อีกหลายเส้นทาง ซึ่งขณะนี้มีเวลาอีก 2-3 ปี ไทยจะต้องเร่งพัฒนาบุคลากรด้านการซ่อมบำรุง การบริหารการเดินรถให้พร้อม เบื้องต้นรัฐบาลไทยจับมือกับรัฐบาลเยอรมันในฐานะผู้ผลิตขบวนรถไฟฟ้า จัดเวิร์กช็อปเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีและความรู้ในการเดินรถให้ไทย รวมทั้งเชิญชวนให้เยอรมันเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางในไทย ด้วยการเข้ามาลงทุนจัดตั้งฐานการผลิตและประกอบรถในประเทศไทย เพราะที่ผ่านมาไทยมีการซื้อขบวนรถ และอุปกรณ์รถไฟฟ้าจากเยอรมันเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ หากมีโรงงานประกอบรถในไทยจะช่วยให้ขบวนการซ่อมบำรุงทำได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น รวมทั้งทำให้เกิดการจ้างงาน
“ขณะนี้ไทยมีความต้องการที่จะสั่งซื้อรถไฟฟ้าถ้าจำนวนมาก หากคิดแฉพาะรถไฟฟ้า 10 สายที่กำลังจะเปิด ก็มีความต้องการประมาณ 2,000 ตู้ ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่ไทยต้องมีโรงงานประกอบรถ โดยในช่วงปลายปีนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะประกาศนโยบายสนับสนุนส่งเสริมการลงทุนจัดตั้งโรงงานประกอบรถไฟฟ้าในไทย โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเป็นเจ้าของโครงการ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิการลงทุน
นายไพรินทร์กล่าวว่า สำหรับแนวทางการส่งเสริมการลงทุนบีโอไอจะส่งเสริมการลงทุนลงทุนแบบเสรีไม่จำกัดเทคโนโลยี และชนิดของตัวรถว่าจะเป็นตัวรถแบบไหนประเภทไหนแต่จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานรางของไทย เนื่องจากปัจจุบันไทยมีการนำเข้าระบบรถไหลากหลายมากถึง 5 ประเทศ เช่น ตุรกี ออสเตรีย จีน ญี่ปุ่น และเยอรมัน
“ขณะนี้มีบริษัทผู้ผลิตจากหลาประเทศสนใจที่จะเข้ามาตั้งโรงงานประกอบในไทย ทั้งญี่ปุ่น จีน เกาหลี เยอรมัน รวมทั้งประเทศในอาเซียนเองที่มีการประกอบตัวรถได้เองแล้วคือ มาเลเซีย เวียดนาม โดยรัฐบาลตั้งเป้าที่จะผลักดันให้มีการจัดตั้งโรงงานประกอบรถไฟฟ้าให้ได้ภายในปี 2562 นำร่องในพื้นที่ภาคอีสาน เนื่องจากปัจจุบันเป็นฮับประกอบรถโดยสารขนาดใหญ่อยู่แล้ว รวมทั้งยังมีแรงงานฝีมือจำนวนมากอีกด้วย เช่นใน จ.นครราชสีมา และ จ.ขอนแก่น เป็นต้น โดยมีเป้าหมายที่จะผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางระบบรางในภูมิภาค”
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจะพยายามเชิญชวนให้ผู้ประกอบการเดินรถไฟฟ้า อย่างเช่น บีทีเอส ให้เข้าร่วมลงทุนตั้งโรงงานประกอบในไทยด้วย โดยอาจจะร่วมกับนักลงทุนต่างชาติ หรือลงทุนเอง เนื่องจากมีการนำเข้าจำนวนมาก ส่วนหน่วยงานรัฐบาล เช่น การรถแห่งประเทศไทย และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยที่เป็นผู้นำเข้ารถรายใหญ่นั้น จะมามีส่วนร่วมกับโรงงานประกอบได้หรือไม่ ยังไม่มีความชัดเจน แต่ในอนาคตโดยเฉพาะการถไฟฯ จะมีความต้องการในการซื้อขบวนรถใหม่จำนวนมาก เนื่องจากในอนาคตจะพัฒนาระบบเดินรถจากดีเซลเป็นระบบซึ่งจะต้องมีการเปลี่ยนตัวรถใหม่ทั้งหมด
นายสรุพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี เปิดเผยว่า ขณะนี้ บีทีเอสซี ยังไม่คิดเรื่องการลงทุน หรือร่วมลงทุนกับผู้ผลิตต่างชาติในการตั้งโรงงานประกอบรถในไทย เพราะต้องขอดูรายละเอียดเรื่องของความต้องการใช้ภายในประเทศก่อนว่ามีมากน้อยแค่ไหน หากลงทุนจะคุ้มหรือไม่ แต่สนใจที่จะเป็นผู้ซื้อมากกว่าหากราคารถที่ประกอบในไทยมีราคาถูกกว่ารถนำเข้า
เนื้อหาข่าวจาก