ครม.มีมติอนุมัติงบกลางประจำปี 2563-2564 วงเงิน 2,700 ล้านบาท ในการผลิตแผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต (Rubber Fender Barrier : RFB) และหลักนำทางยางธรรมชาติ (Rubber Guide Post : RGP) เพื่อเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนนให้แก่ประชาชน โดยมุ่งเน้นให้ใช้ยางพาราเป็นวัสดุในการปรับปรุง ก่อสร้าง เพื่อส่งเสริมการใช้น้ำยางพาราในประเทศ และสร้างสมดุลราคายางพาราให้เหมาะสม
ในปี 2563 กรมทางหลวงมีแผนที่จะใช้แผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต บริเวณถนนที่ทีเกาะสี และเกาะร่อง ระยะทางประมาณ 200 กิโลเมตร (กม.) จากถนนที่มีอยู่ในแผน 3 ปี (2563-2565) รวมระยะทาง 1,029 กิโลเมตร (กม.) หลังจากการนำร่องที่จังหวัดจันทบุรี จะขยายดำเนินการไปที่จังหวัดสตูล และจังหวัดบึงกาฬ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีแหล่งผลิตยางพาราที่สำคัญ โดยกรมทางหลวงจะซื้อผลิตภัณฑ์ยางพารากับชุมนุมสหกรณ์โดยตรง ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง
ซึ่งกรมทางหลวง มีแผนจะใช้แผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต
ในระยะเวลา 3 ปี (2563 -2565) เป็นระยะทางบนถนนของกรมทางหลวงชนบท 768 กิโลเมตร โดยใน 3 ปีแรก จะมีการใช้ยางพาราสดมากกว่า 1 ล้านตัน หลังจากนั้น 3 ปีตั้งแต่ปี 2565 จะมีการใช้ยางพาราในทุกปีไม่น้อยกว่า 336,000 ตัน ช่วยให้เกษตรกรชาวสวนยางมีรายได้มากกว่าปีละ 9500 ล้านบาท
ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคม มีเป้าหมายในการผลิตร RFB และ RGP ระหว่างปี 2563-2565 เป็นระยะทางถนนหลวงและถนนสายรองทั่วประเทศที่จะมีการใช้งาน “รับเบอร์ เฟนเดอร์ แบริเออร์ 12,282 กิโลเมตร ใช้งบประมาณรวมกว่า 83,421 ล้านบาท
เมื่อวันที่ 25 ส.ค. 63 นายกรัฐมนตรี ได้ลงพื้นที่ไปเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการนำร่องนำยางพารามาใช้ปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน ณ บริเวณโค้งศาลหินตั้ง อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี พร้อมเยี่ยมชมการสาธิตการติดตั้งกำแพงคอนกรีตหุ้มแผ่นยางพาราและนิทรรศการผลิตแผ่นยางพาราครอบกำแพงคอนกรีตและเสาหลักนำทางยางธรรมชาติ โดยกล่าวชื่นชมความร่วมมือระหว่าง ก.คมนาคม ก.เกษตรฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ร่วมมือทำอุปกรณ์ด้านจราจรและอำนวยความปลอดภัยทางถนนที่ผลิตจากยางพาราเพื่อใช้ประโยชน์ในหน่วยงานภาครัฐ และเป็นการสร้างรายได้โดยตรงแก่ชาวสวนยางพารา ทั่วประเทศให้มีความมั่นคง รวมถึง จ.จันทบุรีที่มียางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นไปตามแนวทาง “รวมใจ ไทยสร้างชาติ”