นายสมศักดิ์ วิชัยนันท์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดสมุทรสาคร มอบหมายให้นายบุรินทร์ เรืองรัตน์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ และนายเรืองกิตติ์ พรหมชัยศรี นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสมุทรสาคร ลงพื้นที่ชุมชนบ้านวังนกไข่ ตำบลหนองนกไข่ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อติดตามและตรวจเยี่ยมเกษตรกรที่เลี้ยงปลาแรดในบ่อดิน
นายสมศักดิ์ วิชัยนันท์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดสมุทรสาคร มอบหมายให้นายบุรินทร์ เรืองรัตน์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ และนายเรืองกิตติ์ พรหมชัยศรี นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสมุทรสาคร ลงพื้นที่ชุมชนบ้านวังนกไข่ ตำบลหนองนกไข่ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อติดตามและตรวจเยี่ยมเกษตรกรที่เลี้ยงปลาแรดในบ่อดิน
พบว่าเกษตรกรมีความพยายามในการศึกษาเรียนรู้และรับประสบการณ์จากเกษตรกรรายอื่น ๆ ที่เคยเลี้ยงปลาแรดมาแล้ว พร้อมรับฟังข้อมูลจากเจ้าหน้าที่แล้วนำไปปฏิบัติใช้ในการเลี้ยงปลาด้วยความขยัน ยังผลให้ปลาที่เลี้ยงเจริญเติบโตดีตามเป้าหมายทุกประการ
ปลาแรด เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ของไทยชนิดหนึ่ง ที่เคยพบในแหล่งน้ำธรรมชาติมีน้ำหนักถึง 6-7 กิโลกรัม ความ ยาว 65 เซนติเมตรต่อตัว เป็นปลาจำพวกเดียวกับปลากระดี่และปลาสลิด แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก มีเนื้อแน่นนุ่ม เนื้อมากไม่ค่อยมีก้าง รสชาติดี จึงได้รับความนิยมจากประชาชนผู้บริโภค ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลาย ชนิด เช่น ทอด เจี๋ยน ต้มยำ แกงเผ็ด ลาบปลา และทำน้ำยาขนมจีน ปัจจุบันจัดเป็นอาหารประเภทปลาจานโปรดในร้านอาหารโดยทั่วไป และมีจำนวนไม่น้อยที่จะนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามในตู้ปลา เป็นปลาที่เลี้ยงง่ายเช่นเดียวกับปลาสลิดราคาค่อนข้างสูง มีความอดทนต่อสภาพแวดล้อมและโรคได้เป็นอย่างดี ให้ผลตอบแทนต่อการลงทุนดีมีกำไรและไม่มีปัญหาเรื่องตลาด
เป็นปลาที่เลี้ยงได้เป็นอย่างดีทั้งในบ่อและกระชัง มีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็ว สามารถขยายพันธุ์ในบ่อได้ โดยเลี้ยงเพื่อขาย เป็นปลาเนื้อและปลา สวยงาม เป็นปลาในตระกูลเดียวกับปลาหมอไทย ปลาหมอตาล ปลากริม ปลากัด ปลากระดี่นาง ปลากระดี่หม้อ ปลาสลิด ซึ่งปลาในกลุ่มนี้มีลักษณะเด่นคือ ค่อนข้างอดทน มีลำตัวสั้นป้อมและแบนข้าง หัวค่อนข้างเล็ก ปากเล็กเฉียงขึ้นยืดหดได้ ฟันแข็งแรง เกล็ดใหญ่ ลำตัวสีน้ำตาลอ่อนหรือค่อนข้างเทา ครีบท้องมีลักษณะเป็นเส้นยาว ครีบหางกลม เกล็ดตาม เส้นข้างตัว 30-33 เกล็ด มีจุดดำที่โคนหาง 1 จุด สีดำจางเป็นแถบพาดขวางลำตัว ข้างละ 8 แถบ มีสีเงินรอบ ๆ จุดทำให้คล้ายกับปลากระดี่หม้อ
บางพื้นที่เกษตรกรจะเรียกปลาชนิดนี้ว่าปลาเม่น เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย แถบหมู่เกาะสุมาตรา ชวา บอร์เนียว และหมู่เกาะอินเดียตะวันออก สำหรับในประเทศไทยพื้นที่ภาคกลาง จะสามารถพบตามแม่น้ำ ลำคลอง ตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ส่วนที่ภาคใต้ มักพบที่จังหวัดพัทลุงและแถบแม่น้ำตาปี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ปัจจุบันปลาแรดที่อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติจะมีจำนวนน้อยลง เนื่องจากแหล่งน้ำตื้นเขินขาดแหล่งวางไข่ และแหล่งเลี้ยงลูกปลาวัยอ่อนที่เหมาะสม และการเลี้ยงปลาแรดในกระชังยังไม่แพร่หลายมากนัก จะมีอยู่บ้างก็แถบบริเวณจังหวัดอุทัยธานี กาญจนบุรี ส่วนการเลี้ยงในบ่อดินขนาดใหญ่ยังมีอยู่น้อย
ฉะนั้นการส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรเพาะขยายพันธุ์และเลี้ยงปลาแรดจึงน่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งในอาชีพที่มีตลาดแน่นอนในปัจจุบัน และจะเป็นการช่วยในการอนุรักษ์พันธุ์ปลาชนิดนี้ไม่ให้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย
สำหรับการเลี้ยงในบ่อดินนั้น ทางการแนะนำว่าอัตราการปล่อยปลาที่เหมาะสมอยู่ที่ 1 ตัวต่อ 1 ตารางเมตร ขนาดบ่อที่ใช้เลี้ยง 1-5 ไร่ เลี้ยง 1 ปี จะได้ปลามีน้ำหนัก 1 กก. สามารถเลี้ยงรวมกับปลากินพืชชนิดอื่น ๆ ได้ โดยในบ่อเลี้ยงควรมีพืชน้ำหรือวัชพืชขึ้นเพื่อให้ปลากินและเป็นการทำความสะอาดบ่อไปในตัวด้วย
ปลาแรดชอบกินพืชน้ำ ไข่น้ำ แหน ผักพังพวย ผักบุ้ง เศษอาหารที่เหลือจากโรงครัว แมลงในน้ำ ตัวหนอน ไส้เดือน และปลวกเป็นอาหาร