โรคสมาธิสั้นหรือระบาดวิทยา โรคนี้ไม่เป็นที่ทราบแน่นอน และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นความผิดปกติพบได้บ่อยในวัยเด็ก การที่ไม่ทราบระบาดวิทยาแน่นอน เนื่องจากมีความเห็นแตกต่างกันในการวินิจฉัยนอกจากนั้น ยังแล้วแต่แหล่งที่มาของข้อมูลด้วยว่าจากแพทย์ พ่อแม่ หรือครู อีกทั้งการศึกษาในอายุที่แตกต่างกันก็จะได้ความชุกแตกต่างกันไป เพราะโรคนี้พบมากในอายุน้อยและลดลงเรื่อยๆ เมื่ออายุมากขึ้น สรุปว่าโรคนี้มีความชุกระหว่าง 3-5% ของเด็กวัยเรียน
อาการแสดงออก ADHD มีอาการหลักๆ ดังนี้
- อาการสมาธิสั้น มักสามารถเห็นได้ในเกือบทุกสภาวะ เช่น ที่บ้าน ที่โรงเรียน ในสังคม ในห้องตรวจแพทย์ แต่ความรุนแรงของอาการอาจแสดงออกไม่เท่ากันในแต่ละสถานที่ และบางคนก็อาจมีอาการแสดงให้เห็นเฉพาะบางสถานที่เท่านั้น เช่น ที่โรงเรียน เพราะที่โรงเรียนอาจเป็นภาวะที่เด็กต้องมีสมาธิ ฉะนั้น เด็กอาจไม่สามารถทำงานที่ครูสั่งติดต่อกันได้นานเท่าเด็กอื่นๆ ที่อยู่ในวัยเดียวกัน เด็กอาจทำงานไม่เสร็จตามเวลากำหนดหรือทำเสร็จอย่างรีบๆ ผิดพลาดมากสกปรกไม่ประณีต อยู่บ้านก็อาจแสดงออกโดยไม่สามารถทำตามสั่งได้ เช่น เล่นของแล้วไม่เก็บ เปิดลิ้นชักแล้วไม่ปิด เพราะทำยังไม่ทันจบกิจกรรมหนึ่งก็เสียสมาธิเปลี่ยนไปอย่างอื่น ก็เลยไปทำกิจกรรมอื่นเสียแล้ว ลืมกิจกรรมเดิมที่ทำค้างไว้ ผู้ใหญ่มักเข้าใจว่าเด็กไม่สนใจอะไรจริงจัง ขี้ลืม ดื้อ สอนไม่จำ ไม่มีระเบียบ ไม่รับผิดชอบ และอื่นๆ กับเพื่อนๆ เด็กอาจแสดงอาการสมาธิสั้นโดยไม่มีความอดทนที่จะทำตามกฎการเล่น เพื่อนพูดก็ไม่ฟัง เป็นต้น
- อาการหุนหันพลันแล่น ที่โรงเรียนอาการจะแสดงออกโดยการรีบตอบคำถามทั้งๆ ที่ครูถามยังไม่ทันจบดี พูดแทรกกลางคัน ทำโดยที่ฟังคำสั่งยังไม่ทันจบ เด็กจะคอยตามลำดับไม่ได้ในการทำก็กรรมบางครั้งก็รีบตอบแทรกเมื่อเพื่อนยังตอบครูไม่จบ เป็นต้น เวลาอยู่บ้านก็อาจแสดงความหุนหันพลันแล่น โดยจะรบกวนผู้อื่นในรูปแบบต่างๆ เช่น แหย่รบกวนพี่หรือน้องบ่อยๆ เวลาต้องการใช้ของผู้อื่นก็หยิบมาเลย โดยไม่ดูว่าเขาใช้เสร็จหรือยังโดยที่เด็กไม่มีเจตนาจะละเมิดสิทธิหรือเสียมารยาท แต่เป็นเพราะเด็กจะทำอะไรก็ทำเลยโดยไม่ได้ยั้งคิดเสียก่อน
- อาการอยู่ไม่นิ่งหรือชนผิดปกติ เด็กอาจมีอาการนั่งไม่ติดที่โรงเรียน ลุกจากที่นั่งบ่อยๆ บางคนก็อาจวิ่งในห้องเรียน บางคนอาจนั่งไม่นิ่งในที่นั่งของตนจะทำอะไรอยู่เกือบตลอดเวลา เช่น เอาของมาหมุนเล่นจับเล่น เคาะโน่นจับนี่ไม่ได้หยุด นั่งโยกเก้าอี้ กัดดินสอ เขียนการ์ตูนในหนังสือหรือสมุด เวลาอยู่บ้านก็อาจมีลักษณะคล้ายๆ กัน เช่น นั่งไม่นิ่ง เวลารับประทานอาหาร เวลาดูทีวี เวลาทำการบ้าน เวลาจำเป็นที่ต้องอยู่กับที่ก็ขยับตัวตลอดเวลา เวลามาหาแพทย์ต้องคอยก็นั่งคอยไม่ได้ จะเดินไปเดินมา แม้กระทั่งเวลานอนเด็กบางคนจะนอนดิ้นมากทั้งคืน บางคนก็แสดงออกโดยการพูดมากกว่าปกติ บางคนก็กินไม่หยุดจนอ้วน การอยู่ไม่นิ่ง เคลื่อนไหวมากเห็นชัดในเด็กก่อนวัยเรียน ในเด็กโตหรือวัยุร่นอาจเห็นอาการเพียงหยุกหยิกกระวนกระวายเท่านั้นที่เหลืออยู่ในเห็น
พฤติกรรมแต่ละอย่างที่กล่าวมา อาจพบได้ในเด็กปกติ จะเป็นความผิดปกติ เมื่อมีพฤติกรรมที่รุนแรง ไม่เหมาะสมกับวัยของเด็ก ไม่เหมาะสมกับสถานที่ เช่น ในห้องเรียนไม่ใช่ในสนามเด็กเล่น และมีอาการสม่ำเสมอ และพฤติกรรมนั้นรบกวนผู้อื่นด้วย หรือมีพฤติกรรมผิดปกติมากจนรบกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ไม่สามารถเรียนหนังสือได้ บางครั้ง ADHD อาจมีสมาธิได้ยาวนาน เฉพาะในเรื่องที่เด็กสนใจ เช่น วิดีโอเกมส์ การต่อ lego เป็นต้น
การวินิจฉัยแยกโรค มีสภาวะที่ปกติและผิดปกติหลายอย่างที่อาจมีอาการคล้าย ADHD และอาการที่เห็นบางครั้งก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของโรคอื่น
- เด็กปกติที่ค่อนข้างซนเด็กบางคนที่พละกำลังมาก ซนมาก ชอบทำอะไรๆ อยู่เสมอๆ ไม่ชอบอยู่เฉยๆ แต่การกระทำจะไม่สะเปะสะปะ ขาดการวางแผนแบบเด็ก เป็นโรคสมาธิสั้น ADHD
- เด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ยุ่งเหยิงขาดระเบียบแบบแผนมากๆ ทำให้เด็กมีความยากลำบากที่จะมีสมาธิ เพราะเด็กถูกกระตุ้นมากเกินไป
- เด็กที่ถูกตามใจมากทำให้เด็กขาดระเบียบวินัย และการควบคุมตัวเอง ทำให้มองดูเหมือนเด็กสมาธิสั้นได้
- เด็กปัญญาอ่อนเด็กมีสมองที่มีพัฒนาการช้า ฉะนั้น จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD) ต่อเมื่อมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมตามวุฒิภาวะ (mental age) เท่านั้น
- โรคจิตเด็กเด็กที่มีโรคจิตอาจมีอาการคล้าย ADHD ได้
- โรคทางอารมณ์และวิตกกังวลอาจมีอาการแสดงคล้าย ADHD แต่จะมีประวัติว่ามามีอาการที่หลัง และอาจพบสาเหตุกระตุ้น เช่น พ่อแม่เลิกกัน ส่วน ADHD มักเป็นมาแต่วัยเด็กเล็ก
การรักษาโรคสมาธิสั้น (ADHD) เนื่องจากปัจจุบันเชื่อว่า ADHD นั้น เป็นผลจากความผิดปกติของสมองทางชีวะ เป็นความบกพร่องทางสรีระวิทยาในสมอง (neurophysiologicaldysfunction) การใช้ยารักษาจึงมีความจำเป็น ยาที่ใช้ได้คือ
ก. Methyhenidate (เช่น Retalin) ซึ่งมีฤทธิ์อยู่นาน (halt-life) 2-4 ซ.ม. ขนาดที่ใช้ 0.3-0.6 ม.ก./ก.ก./ครั้ง อาจให้มื้อเช้ามื้อเดียวหรือให้เช้าและเที่ยง เพื่อคุมอาการให้ได้
ข. Arnphetamine มีฤทธิ์ยาวกว่า Methylphenidate ให้มื้อเดียว ตอนเช้าได้ ขนาดยาที่ใช้ 5-40 ม.ก./วัน
ค. Pemoline (Revibol B-alert) ขนาดที่ใช้คือ 2.25 ม.ก./ก.ก. อาจมีฤทธิ์ข้างเคียงต่อตับควรเป็นมื้อเช้า ขนาดยาที่ใช้ประมาณ 35-110 ม.ก./วัน
ง. Imipramine มีรายงานว่าได้ผลดี แต่ไม่ดีเท่ายา 3 ตัวแรก ขนาดยาที่ใช้ 0.5-3.0 ม.ก./ก.ก.
จ. Antipsychotics สามารถลดพฤติกรรมกระวนกระวายได้ แต่ไม่ช่วยการเรียนรู้และอาจรบกวนการเรียนรู้เพราะทำให้ง่วงซึม มักให้มื้อก่อนนอนมื้อเดียว แต่เด็กบางคนอาจให้เป็นมื้อเช้าก็ได้ ถ้าไม่รบกวนการเรียนจากการง่วงซึม
การรักษาด้านอื่นๆ นอกเหนือจากยาเป็นสิ่งจำเป็นมากเพราะมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอาการของเด็ก ผู้ใหญ่เข้าใจว่าเด็กดื้อ แกล้งทำ เด็กถูกดุว่ามามากอาจเสียความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง จึงควรได้รับการแก้ไขดังนี้
ก. อธิบายให้เด็ก พ่อแม่ ครูทุกคนเข้าใจปัญหาว่าเกิดจากอะไร
ข. แก้ไขปัญหาการเรียน เด็กมักมีปัญหาการเรียนจากโรคที่เป็น ต้องช่วยเหลือเด็กให้สามารถเรียนได้ เช่น แก้ไขสิ่งแวดล้อมที่บ้านและที่โรงเรียนใหม่สภาพที่มีสิ่งกระตุ้นเด็กให้น้อยที่สุด เช่น นั่งใกล้ครู อยู่ห้องเรียนที่ไกลจากเสียงรบกวนของรถยนต์ มีการสอนเสริมโดยครูพิเศษ มีที่เป็นสัดส่วนให้เด็กทำการบ้าน ไม่เปิดทีวีขณะเด็กทำการบ้าน เป็นต้น
ค. การช่วยเหลือเด็กโดยตรง ถ้าเด็กมีปัญหามานาน ถูกทำโทษมากด้วยความเข้าใจผิดแพทย์ต้องช่วยแก้ความรู้สึกที่ไม่ดีที่เกิดขึ้นกับตัวเด็กโดยตรง บางครั้งเด็กไม่สามารถเข้ากับเพื่อนได้ก็ต้องช่วยแนะนำให้คำปรึกษา ให้กำลังใจ
ง. เป็นที่ปรึกษาให้พ่อแม่ และครู ระหว่างการเรียนปัญหาอาจไม่หมดไปง่ายๆ ต้องติดตามช่วยเหลือไปจนแน่ใจว่าทุกคนปรับตัวกับปัญหาได้
ข้อแนะนำสำหรับผู้ใหญ่ในการอยู่กับเด็กสมาธิสั้น
- เข้าใจเด็ก
– เป็นธรรมชาติของเขา
– ไม่ได้แกล้ง
– ไม่ใช่นิสัยไม่ดี
– ไม่ใช่เด็กดื้อ/ไม่อดทน
– ไม่ใช่สอนไม่จำ
– ไม่ใช่ไม่มีความรับผิดชอบ
- หลีกเลี่ยงการตำหนิ-ต่อว่า เกี่ยวกับพฤติกรรมที่เป็นผลของสมาธิสั้น/อยู่ไม่นิ่ง
- ช่วยเด็กคิดวิธีแก้ไข จุดอ่อน
– แก้การลืมอย่างไร
- ช่วยให้เด็กใช้พลังงาน ไปในทางสร้างสรรค์ มีกิจกรรมให้ทำได้
– กีฬา
– ดนตรี
– Computer
- จัดสิ่งแวดล้อมบ้าน
– เด็กเล็ก-เก็บของแตกได้ ให้พ้นมือเด็ก
– มีเนื้อที่ให้เด็กใช้ส่วนตัวเล่น/ทำการบ้าน
- แบ่งช่วงเวลาการทำงาน เป็นช่วงยาวเท่าที่ สามารถมีสมาธิทำได้
ข้อมูลจาก สสส.