นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีน้ำต้นทุนอยู่ประมาณ 38,665 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 47
สาเหตุที่ทำให้ฤดูฝนนี้มีน้ำน้อยกว่าปีที่ผ่านมามี 3 ปัจจัย คือ
1. ปริมาณฝนตกช่วงฤดูฝนปี 2561 น้อยกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 10 – 17
.
2. มีการส่งน้ำให้กับพื้นที่เกษตรที่เพาะปลูกเกินแผนในฤดูแล้งปี 2561/62 โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเพาะปลูกเกินแผน 1.2 ล้านไร่ ทำให้ต้องจัดสรรน้ำมากกว่าแผนร้อยละ 20 หรือประมาณ 1,528 ล้าน ลบ.ม.
.
3. มีปริมาณฝนตกจริงน้อยกว่าที่คาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) ประมาณร้อยละ 30 – 40 ในภาคเหนือ ภาคกลาง และตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าอ่างเก็บน้ำน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ ต้องจัดสรรน้ำจากอ่างเก็บน้ำให้พื้นที่การเกษตรมากกว่าแผนจนหลายพื้นที่ได้รับผลกระทบเกิดภัยแล้ง
.
ผลกระทบตังกล่าว จึงให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตรวางแผนขึ้นปฏิบัติการฝนหลวงทั้งเหนือเขื่อนและท้ายเขื่อนบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้กับเขื่อนหลักและพื้นที่เกษตรกรรม
.
ปรับลดแผนการระบายน้ำจากเขื่อนลง คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนเจ้าพระยา เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน เขื่อนอุบลรัตน์ เพื่อให้สามารถส่งน้ำช่วงฤดูฝนนี้ได้ เพียงพอเพื่อการอุปโภค-บริโภค และรักษาระบบนิเวศแหล่งน้ำได้รวมทั้งหมดไม่น้อยกว่า 3,200 ล้าน ลบ.ม.ในช่วงฤดูแล้ง
.
ส่วนสถานการณ์น้ำบริเวณแม่น้ำโขง ว่า เขื่อนไซยะบุรี ของ สปป.ลาว ได้ระบายน้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าตามปกติ ส่งผลให้ระดับน้ำแม่น้ำโขงเริ่มเพิ่มขึ้น ประกอบกับ เขื่อนจิ่งหงของจีน ได้ปรับเพิ่มการระบายน้ำในแม่น้ำโขง เนื่องจากท้ายน้ำแม่น้ำโขงได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก
.
กลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงพบปริมาณฝนตกตั้งแต่จีน เมียนมา และสปป.ลาว ลดลงถึงร้อยละ 50 มีลักษณะคล้ายกับประเทศไทยประสบอยู่ ส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าแม่น้ำโขงเพียงร้อยละ 11 เท่านั้น จึงเป็นหนึ่งปัจจัยทำให้เกิดสถานการณ์น้ำโขงลดลงอย่างรวดเร็ว