วันที่ 10 มี.ค.2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ฟาร์ม ขึ้นราคาหมูเป็นกิโลกรัมละ 4 บาท ดันราคาปลีกเพิ่มขึ้น 8บาท/ก.ก. แตะ 182 บาท โดยรายงานข่าวจาก สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ แจ้งว่า สภาวะตลาดสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม (สัปดาห์ที่ 10/2565) ประจำวันพระที่ 10 มี.ค.2565 ว่าสมาคมฯได้ปรับขึ้นราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มเพิ่มขึ้นทุกภูมิภาค
โดย ภาคเหนือ ปรับขึ้น 2 บาท/ก.ก. จาก 86 บาท/ก.ก. เป็น 88 บาท/ก.ก. ส่งผลให้ราคาขายปลีกเนื้อหมูปรับเพิ่มขึ้น 4บาท/ก.ก. ราคาอยู่ที่อยู่ที่ ก.ก.ละ 174-176 บาท, ภาคตะวันออก ปรับขึ้น 4 บาท/ก.ก.จาก 86 บาท/ก.ก. เป็น 90 บาท/ก.ก. ทำให้ราคาขายปลีกปรับเพิ่ม 8 บาท/ก.ก. ราคาอยู่ที่ 178-180บาท/ก.ก.
ภาคอีสาน ปรับขึ้น 2 บาท/ก.ก. จาก 88บาท/ก.ก. เป็น 90 บาท/ก.ก. ทำให้ราคาขายปลีกปรับเพิ่ม 4 บาท/ก.ก. ราคาอยู่ที่ 178-180 บาท, ภาคเหนือ ปรับขึ้น 4 บาท/ก.ก. จาก 87 บาท/ก.ก.เป็น 91 บาท/ก.ก. ทำให้ราคาขายปลีกปรับเพิ่ม 8 บาท/ก.ก. ราคาอยู่ที่ 180-182 บาท/ก.ก.และภาคใต้ราคาทรงตัว ก.ก.ละ 88 บาท ราคาขายปลีกอยูที่ 174-176บาท
สาเหตุที่ราคาสุกรขุนหน้าฟาร์มปรับขึ้นตามแรงกดดันของต้นทุนอาหารสัตว์ ผู้บริโภคเริ่มรับราคาเนื้อสุกรในปัจจุบันมากขึ้น ห้างค้าปลีก Balance Part จัดส่วนต่างราคาตามความต้องการของตลาดได้ดี และสร้างราคาชิ้นส่วนทางเลือกที่สนองนโยบายรัฐ ถึงแม้ต้นทุนอาหารสัตว์ ค่าพลังงานน้ำมัน เพิ่มเป็นรายวัน กระทบทั้งต้นทุนการผลิตและต้นทุนการขนส่ง ในขณะที่ราคาจำหน่ายเนื้อสุกรและสุกรขุนหน้าฟาร์มยังคงถูกจับตาโดยภาครัฐเป็นรายสัปดาห์
ขณะที่ราคาข้าวโพดหน้าโรงงานอาหารสัตว์สูงสุดที่กรุงไทยอาหารสัตว์ บ้านบึง ที่กิโลกรัมละ 13.05 บาท โดย CPF บางนาและเซ็นทาโกอยู่ที่ 13.00 บาท โดยปัจจัยที่ท้าทายภาคปศุสัตว์ไทยในสถานการณ์สงครามที่เป็นปัญหาหนัก นอกเหนือจากปัญหาราคาน้ำมัน คือราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ เพราะรัสเซียและยูเครนเป็นผู้ส่งออกพืชวัตถุดิบอาหารสัตว์รายใหญ่ของโลก โดยมีปริมาณการส่งออกข้าวสาลีรวมกันราว 29% ของปริมาณการส่งออกทั่วโลก
และมีสัดส่วนการส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงถึง 19% ของตลาดโลก สร้างปัจจัยบวกให้การค้าข้าวโพดในประเทศให้ขึ้นอย่างต่อเนื่องแบบไร้การเข้ามาควบคุมราคา ทั้ง ๆ ที่ Corn CBOT เมื่อวาน 9 มีนาคม 2565 รอบส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2565 ราคาย่อตัวมาปิดที่ 722.1 เซนต์/บุชเชล ( เทียบเท่า 9.380 บาทต่อกิโลกรัม ณ THB32.9983/USD)
ที่มา ข่าวสด