เมื่อวันที่ 21 กันยายน นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะทำงานร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่..) พ.ศ. …. กล่าวถึงความคืบหน้าการผลักดันร่างพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ฉบับใหม่แก้ไขจากฉบับพ.ศ.2541 ว่า หลังจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบร่างพ.ร.บ.ฯ เมื่อวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา ว่า
ขณะนี้ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้นำเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) และทางสนช.ได้รับหลักการแล้ว โดยจะมีการประชุมนัดแรกวันจันทร์ที่ 24 กันยายนนี้ ซึ่งความคืบหน้าดังกล่าว เป็นสัญญาณที่ดี เพราะจากขั้นตอนทำให้แน่ชัดว่า ร่างกฎหมายนี้จะประกาศใช้ได้ทันในรัฐบาลชุดนี้แน่นอน และจะเป็นผลงานที่ลูกจ้าง จำนวน 9.78ล้านคน ซึ่ง จะได้ประโยชน์ตามกฎหมายนี้ รู้สึกพึงพอใจมาก เพราะถือเป็นครั้งแรกที่ได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มมากมาย
นายมนัส กล่าวว่า สิทธิประโยชน์จากกฎหมายฉบับใหม่หากประกาศใช้ หลักๆ คือ จะได้รับอัตราค่าชดเชยกรณีนายจ้างเลิกจ้างมากขึ้น คือ 1.ลูกจ้างทำงานครบ 120 วันจ่าย30 วัน 2.ลูกจ้างทำงานครบ1ปีแต่ไม่ถึง3ปีจ่าย90วัน 3.ทำงานครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปีได้ 180 วัน
4.ลูกจ้างทำงานครบ6ปีแต่ไม่ครบ 10 ปีได้ 240 วัน 5.ลูกจ้างทำงานครบ10แต่ไม่ครบ 20 ปีได้ 300 วัน และ 6.ทำงานครบ 20 ปีขึ้นไปได้ 400 วัน ที่เพิ่มเข้ามา คืออัตราที่ 6 คือ หากทำงานต่อเนื่องครบ 20 ปี จะได้รับค่าชดเชย 400 วันจากเดิมสูงสุดแค่ 300 วัน
“นอกจากนี้ ยังมีลากิจที่จำเป็นต้องได้ค่าจ้าง 3 วันทำการ ปัจจุบันไม่ได้เลย อย่างลากิจจำเป็น ก็จะมีการกำหนดในระเบียบในกฎกระทรวงว่า จะมีกิจไหนบ้าง ซึ่งกรมสวัสดิการจะเป็นคนทำ ซึ่งเขาจะมีตั้งคณะทำงานนี้ด้วย ซึ่งลากิจจำเป็น อาจเป็นกรณี ลูกไม่สบายด่วน ต้องพาพบแพทย์ แต่ลาอุปสมบท ซึ่งบางโรงงานก็ให้ แต่ไม่รวมในนี้”นายมนัส กล่าว และว่า
หากกฎหมายประกาศใช้ และมีการฝ่าฝืนก็จะมีโทษทางอาญาทั้งจำทั้งปรับ เพราะเป็นกฎหมายคุ้มครองแรงงานพื้นฐาน จำคุก 1 ปี ปรับขึ้นอยู่กับมาตราเฉลี่ย 1 แสนบาท แต่จริงๆ ไม่ค่อยขึ้นโทษอาญา จะเป็นปรับมากกว่า อีกทั้ง กรณีการถูกย้ายงาน เช่น เคยทำงานสาขาใหญ่อยู่สมุทรปราการ แต่ถูกย้ายไปสาขาปราจีนบุรี แต่ลูกจ้างไม่ยอม จะขอลาออก ทางนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยด้วยเช่นกัน
นายมนัส กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังมีสิทธิอื่นๆอีก สำหรับลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์ การลาคลอดเดิมได้ 90 วัน แต่ของใหม่ที่แก้ไข คือ รวมทั้งก่อนคลอด หลังคลอด รวม 98 วัน เพิ่มมาอีก 8 วัน และกรณีลาฝากครรภ์ได้ค่าจ้าง ซึ่งเป็นไปตามอนุสัญญาไอแอลโอฉบับที่ 100 เรื่องค่าตอบแทนหญิงชายต้องเทียมกัน ซึ่งทำงานมีค่าเท่ากันฯ และเป็นไปตามฉบับที่ 183. คุ้มครองมารดาฯ (ลาคลอด)
รายละเอียดข้อมูลข่าวจาก