นางสีดา ฆ่านกหัสดีลิงค์ – ในพิธีพระราชทานเพลิงศพ พระเทพวิทยาคม หรือหลวงพ่อคูณ ปริสุทธโธ เจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่รับผิดชอบงานดังกล่าว พร้อมกำหนดจัดสร้างในสระน้ำด้านหลังพุทธมณฑลอีสาน ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น โดยเป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์ที่ใช้ในการก่อสร้างโรงพยาบาลศรีนครินทร์ แห่งที่ 2 เนื้อที่ 15 ไร่ ซึ่งเริ่มตั้งแต่การเตรียมพื้นที่ การก่อสร้างเนินดิน 3 ชั้น โดยมีรูปปั้นพญานาค บริเวณบันไดทั้ง 8 ทิศรวม 16 ตัว
นางสีดา ฆ่านกหัสดีลิงค์ –ขณะที่ในชั้นที่ 3 กำหนดให้จำลองเป็นเขาพระสุเมรุ มีการจำลองสระอโนดาต มีสัตว์ในตำนาน 30 ตัวรายล้อมนกหัสดีลิงค์บนเนินบุษบก ที่มีความสูง 22 เมตรหรือประมาณ ตึก 6 ชั้น โดยการก่อสร้างทั้งหมดเป็นสีขาวที่สื่อถึงความบริสุทธิ์ เรียบง่าย และใช้กระดาษในการก่อสร้างทุกขั้น ยกเว้นสัตว์ต่างๆที่ใช้ปูนปั้นทั้งหมด เพื่อสื่อถึงความเรียบง่าย ความสมถะ และความบริสุทธิ์ ตามกิจวัตรของหลวงพ่อคูณ
“ที่สำคัญตามตำนานและความเชื่อที่สืบต่อกันต่อเป็นขนบธรรมเนียมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยนั้น นกหัสดีลิงค์นั้น การฆ่าได้จะต้องมีผู้ที่สืบเชื้อสายนางสีดา เป็นผู้ฆ่า ซึ่งวิธีฆ่านกหัสดีลิงค์นั้น มีทั้งรูปแบบของการยิงธนูให้ตายและเผาทิ้ง หรือการฆ่าและตัดหัวนกมาเก็บเป็นที่ระลึก
ซึ่งนักวิชาการของ มข.ที่สืบค้นในเรื่องดังกล่าวมีข้อมูลยืนยันว่าผู้ที่สืบเชื้อสายนางสีดา ในตำนานที่เป็นคนไทยนั้นมีอยู่จริง ปัจจุบันอายุ 90 ปี อาศัยอยู่ที่ จ.อุบลราชธานี โดยมหาวิทยาลัยได้ติดต่อคุณยายแล้ว และคุณยายตอบรับในการร่วมขบวนนางสีดา และร่วมฆ่านกหัสดีลิงค์ตามตำนาน และเผานกไปพร้อมกับหลวงพ่อคูณ เพื่อส่งท่านสู่สรวงสวรรค์ในวันที่ 29 ม.ค.62
โดยตำนานนกหัสดีลิงค์นั้น มีว่าสมัยโบราณหลายพันปีมาแล้ว ความว่า ในนครตักกะศิลาเชียงรุ้งแสนหวีฟ้ามหานคร พระมหากษัตริย์แห่งนครนั้นถึงแก่สวรรคต ตามธรรมเนียมต้องอัญเชิญพระศพออกไปฌาปนกิจที่ทุ่งหลวง ในครั้งนั้นพระมหาเทวีให้จัดการพระศพตามโบราณประเพณี ได้แห่พระศพออกจากพระราชวังไปยังทุ่งหลวงเพื่อถวายพระเพลิง
ขณะนั้นมีนกสักกะไดลิงค์ หรือนกหัสดีลิงค์ ซึ่งกินเนื้อสัตว์เป็นอาหารบินมาจากป่าหิมพานต์ นกได้เห็นพระศพคิดว่า เป็นอาหารของเขา จึงบินโฉบลงมาเอาพระศพจะไปกิน เมื่อพระมหาเทวีเห็นเช่นนั้นก็ประกาศให้คนดีต่อสู้นกหัสดีลิงค์เพื่อเอาพระศพคืนมา คนทั้งหลายก็อาสาต่อสู้นกหัสดีลิงค์ไม่ได้ ถูกนกหัสดีลิงค์จับกินหมด
ในครั้งนี้ ธิดาแห่งพญาตักกะศิลาจึงเข้ารับอาสาสู้นกหัสดีลิงค์นั้น นางมีนามว่า สีดา นางได้ใช้ศรอาบยาพิษยิงนกหัสดีลิงค์ นกหัสดีลิงค์ถึงแก่ความตายจกลงมาพร้อมพระศพแห่งกษัตริย์องค์นั้น พระมาหาเทวี จึงโปรดสั่งให้ช่างทำเมรุคือหอแก้วบนหลังนกหัสดีลิงค์ แล้วเชิญพระศพขึ้นประดิษฐานบนหลังนกหัสดีลิงค์ แล้วถวายพระเพลิงไปพร้อมกัน ตำนานมีกล่าวไว้ดังนี้
ต่อจากนั้นมาเจ้านายในพระราชวงศ์นั้นแห่งเมืองตักกะศิลาเชียวรุ้งแสนหวีฟ้าได้ถือเอาประเพณี ทำเมรุนกหัสดีลิงค์ หรือนกสักกะไดลิงค์นั้นขึ้น เพื่อประกอบพิธีถวายพระเพลิง ถวายแก่เจ้านายเชื้อพระวงศ์ที่ถึงแก่อสัญกรรม
ประเพณีนี้จึงถือกันมาตลอดสายกษัตริย์องค์นั้น สืบทอดกันมาจนถึงเจ้านายเมืองอุบลราชธานี และเชื้อสายของเมืองตักกะศิลา จึงรับสืบทอดมรดกพิธีนี้มาเป็นประจำเอง ผู้ที่ฆ่านกหัสดีลิงค์ประจำเมืองอุบลราชธานีของเราผู้สืบทอดกันมาดังนี้
ยุคแรกคือ ญาแม่นางสุกัณ ปราบภัย ผู้สืบเชื้อสายมาจากเมืองตักกะศิลา เมื่อญาแม่สุกัณถึงแก่กรรมไปแล้ว บุตรสาวของท่านคือ คุณยายมณีจันทร์ ผ่องศิล เป็นผู้รับช่วงในการทรงเจ้านางสีดาลงมาฆ่านกหัสดีลิงค์ เมื่อคุณ ยายมณีจันทน์ ผ่องศิล ถึงแก่กรรมแล้ว บุตรสาวของท่านคือ คุณสมวาสนา รัศมี รับช่วงเป็นคนทรงเจ้านางสีดาลงมาฆ่านกหัสดีลิงค์ต่อมา
ต่อมาเมื่อคุณสมวาสนา รัศมีถึงแก่กรรมไปแล้ว คุณยุพิน ผ่องศิล เป็นผู้รับช่วงในการเข้าทรงเจ้านางสีดาลงมาฆ่านกหัสดีลิงค์ต่อไป ซึ่งเป็นคนฆ่าปัจจุบัน(พ.ศ.2548)
ในการที่จะเชิญเจ้านายสีดามาฆ่านกหัสดีลิงค์นั้น โบราณมีว่า ตัวแทนของอัญญาสี่ จำนวนผู้ชาย 4 คน ผู้หญิง 4 คน ที่เป็นบุตรหลานของอัญญาสี่จะต้องนำขันธ์ห้า คือ ดอกไม้ขาว 5 คู่ เทียนแท้ 5 คู่ ยาวคืบหนึ่ง ใส่พานไปที่ตำหนักทรงของเจ้าแม่สีดา เพื่อบอกกล่าวเชิญเจ้าแม่ไปฆ่านกหัสดีลิงค์
เมื่อผู้ทรงได้รับขันธ์เชิญก็จะเข้าทรงเชิญเจ้าแม่สีดาลงมาพบตัวแทนอัญญาสี่ แล้วว่าจะรับหรือไม่ เมื่อท่านเจ้าแม่ในร่างทรงรับจะไปฆ่านกหัสดีลิงค์เรียกว่า คายหน้า คือ เครื่องบูชาบวงสรวงก่อนที่จะไปฆ่านกหัสดีลิงค์นั้น จะต้องมีการบวงสรวงเข้าทรงเสียก่อนตามประเพณีโบราณ เครื่องบูชาครูหรือเครื่องบวงสรวงมีทั้งหมด 17 รายการ
เมื่อขบวนแห่ไปถึงบริเวณที่ตั้งเมรุนกสักกะไดลิงค์หรือนกหัสดีลิงค์แล้วขบวนก็จะเดินไปรอบๆ พอนกหัสดีลิงค์เห็นเช่นนั้นก็จะหันซ้ายหันขวางวงก็จะไขว่คว้า ตาก็จะเหลือกขึ้นลง หูก็กระพือปากก็จะอ้าร้องเสียงดัง พร้อมที่จะต่อสู้ เจ้าแม่สีดาก็ไม่รั้งรอ ก็จะทรงศรยิงไปที่นกหัสดีลิงค์อีกครั้ง
แห่ไปอีกก็จะกลับมายิงนกหัสดีลิงค์อีก จนนกหัสดีลิงค์หมดแรงไม่เคลื่อนไหว ซึ่งแสดงว่านกหัสดีลิงค์ตายแล้ว แผลที่ถูกยิงก็จะมีเลือดไหลออกมา
เมื่อเห็นว่านกหัสดีลิงค์หมดกำลังแล้ว บริวารของเจ้าแม่สีดาก็จะช่วยเอาหอกเอาดาบฟันนกหัสดีลิงค์ เมื่อเสร็จจากการฆ่านกหัสดีลิงค์แล้ว ขบวนเจ้าแม่สีดาก็กลับตำหนักพักผ่อนรอจนสามคืนก็จะมีพิธีบวงสรวงเจ้าแม่สีดาอีกเรียกว่า บวงสรวงครั้งหลังเรียกว่าคายหลัง เครื่องบวงสรวงก็เช่นเดิมคือ เหมือนคายหน้า คายหลังต้องใช้เงินบูชาครู 15 ตำลึง
แต่เดิมในเมืองอุบลราชธานีนี้มีตำนานการสร้างเมรุนกหัสดีลิงค์อยู่เป็นของประจำเมือง พร้อมทั้งพงศวดารเมือง ต่อมาทางราชการมาขอยืมไปเพื่อตรวจสอบ ทั้งตำนานเมือง ตำนานนกหัสดีลิงค์ โดยอ้างว่าจะไปเรียบเรียงใหม่
ภายหลังผู้มาขอยืมที่เป็นเจ้าหน้าที่บ้านเมืองชั้นสูงได้เดินทางไปปักปันดินแดนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในคราวไทยเสียดินแดนฝั่งซ้ายให้แก่ฝรั่งเศส แล้วป่วยไข้มาลาเรียเสียชีวิต ตำนานนี้กล่าวมาก็หายสาบสูญไป ต่อมาจึงมีแต่เพียงคำบอกเล่าของผู้ได้ปฏิบัติมาและผู้สืบทอดเชื้อสายเล่าให้ลูกหลานฟังเท่านั้น ราชประเพณีของเมือง จึงเลือนรางไปดังที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้
วัฒนธรรมประเพณีพื้นเมืองจะยังอยู่สืบเชื้อสายได้ก็จะต้องมีผู้รักษาหากขาดผู้รักษาแล้ววัฒนธรรมท้องถิ่นก็หมดไปด้วย นกหัสดีลิงค์ที่ว่านี้เป็นเรื่องประชาชนในท้องถิ่นถวายให้เกียรติแก่ผู้ตาย ไฟพระราชทานนั้นเป็นพระเมตตาของพระมหากษัตริย์ที่พระราชทานมาให้ผู้ตาย นกหัสดีลิงค์เท่ากับว่าเป็นพานทองรับไฟเพลิงพระราชทานชองพระมหากษัตริย์ นั่นเอง ดอกไม้มีพานใส่ฉันใด นกหัสดีลิงค์ก็ฉันนั้น – อ่านต้นฉบับ
รวบรวมภาพและเนื้อหาข่าวจาก