เจาะลึก! ความเป็นอีสานในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ยกระดับศักยภาพผ่านเทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2566
ชวนทำความรู้จักกับเบี้องหลังแนวคิดการจัดเทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2566 หรือ Isan Creative Festival 2023 (ISANCF2023) โดยในปีนี้ยังคงมุ่งเน้นการทำงานร่วมกับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 3 สาขาที่มีความโดดเด่นของภูมิภาคอีสาน ได้แก่ 1. อุตสาหกรรมบันเทิงอีสาน (Isan Entertainment) 2. อุตสาหกรรมอาหารอีสาน (Isan Gastronomy) และ 3. อุตสาหกรรมงานหัตถกรรมอีสาน (Isan Craft & Design) ภายใต้ธีม “เติมเต็มถิ่นฐาน ตื่มบ้านตื่มเมือง” หรือ “Regional (enlight) sation” เป็นการเติมเต็มเมืองขอนแก่นและอีสานด้วยความคิดสร้างสรรค์ ยกระดับให้เป็นพื้นที่แห่งความคิดสร้างสรรค์ที่เบ่งบาน ขณะเดียวกันยังยกระดับภูมิภาคอีสานให้ ‘น่าอยู่ น่าลงทุน น่าท่องเที่ยว’ เป็นการสร้างโอกาสต่อยอดองค์ความรู้ ไปสู่การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ที่เราอาจคาดไม่ถึงว่าความเป็นอีสาน จะสามารถก้าวสู่ระดับสากลได้อย่างไร้ขีดจำกัด
นิทรรศการและกิจกรรมที่หยิบยกมาให้ชมวันนี้ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความเป็นไปได้ของความเป็นอีสานที่อยู่ใน 2 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ทั้ง อุตสาหกรรมบันเทิงอีสาน (Isan Entertainment) และอุตสาหกรรมอาหารอีสาน (Isan Gastronomy) และภารกิจพัฒนาย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บน 2 ย่านหลักของเมืองขอนแก่น กังสดาล-ศรีจันทร์ ที่บอกเลยว่าไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง
ความเป็นอีสานกับอุตสาหกรรมบันเทิง (Isan Entertainment) กับ นิทรรศการหมอล้ำ หมอลำ (The Future Of Molam) นิทรรศการที่บอกเล่าเรื่องราวของ “หมอลำ” เครื่องมือทางวัฒนธรรมที่มีส่วนในการบอกเล่าการดำรงชีวิต ความเป็นอยู่ ความบันเทิงของผู้คนท้องถิ่น หมอลำเป็นแนวดนตรีที่มีการปรับให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของโลกอยู่เสมอ จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า หมอลำเปรียบเสมือนกระจกสะท้อนสังคมร่วมสมัยได้เป็นอย่างดี และวัฒนธรรมอีสานที่ถูกส่งต่อให้ผู้คนผ่านหมอลำนี้ ได้สร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการมากมาย เช่น ร้านตัดเย็บชุดหางเครื่อง ร้านเครื่องสำอาง ร้านอาหารอีสานท้องถิ่น เป็นต้น
ในยุคปัจจุบันอุตสาหกรรมหมอลำดังไปไกลสู่ระดับสากล ยกตัวอย่างเพลง Connaissais de Face ของ Khruangbin (เครื่องบิน) วงดนตรีจากสหรัฐอเมริกาเป็นเพลงที่ผสมดนตรีแนวหมอลำกับแนวดนตรีสากลเข้าด้วยกันอย่างลงตัวจนกลายเป็นดนตรีใหม่ที่เข้าถึงคนทั่วไปได้มากขึ้น อุตสาหกรรมหมอลำแฝงความเป็น Soft power ของอีสานอยู่ในทุกอณูของจังหวะชีวิตในทุกที่ที่มีผู้คนเข้าถึงแสดงให้เห็นถึงหมอลำสามารถพัฒนาและต่อยอดไปได้อีกไกลในอนาคต
ความเป็นอีสานในอุตสาหกรรมอาหาร (Isan Gastronomy) คือ นิทรรศการรสชาติข้าวอีสาน (Isan Rice Flavors Exhibition) “ข้าว” นับเป็นอาหารหลักของคนไทย และเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอาหาร แต่หากเราตั้งคำถามง่าย ๆ กับตัวเองว่าเรารู้จักข้าวที่รับประทานอยู่หรือไม่ เคยรับประทานข้าวมาแล้วกี่ชนิด เชื่อว่าจำนวนไม่น้อยไม่สามารถระบุชื่อพันธุ์ข้าวที่เคยรับประทานได้ อีกทั้งข้าวมักถูกมองว่าเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity Product) ซึ่งหมายถึงสินค้าที่มีลักษณะเหมือนกัน หรือแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ไม่ว่าผลผลิตข้าวนั้นจะมาจากสถานที่ที่แตกต่าง ทำให้ในสายตาของคนส่วนใหญ่มองว่า ข้าวแม้จะมีหลากหลายสายพันธุ์ ก็มักจะถูกมองว่าเป็นข้าวเหมือน ๆ กัน
นิทรรศการนี้ จึงตั้งคำถามว่า “ข้าว” สามารถเป็นอะไร และทำอะไรได้บ้าง? หากเรามี Wine Sommelier หรือ Specialty Coffee ที่ช่วยให้กาแฟและองุ่นมีคุณภาพสูงขึ้นและขยายกลุ่มลูกค้าถึงระดับโลก “ข้าว” ก็เป็นไปได้เช่นเดียวกัน ผ่านการนำเสนอศักยภาพของข้าวผ่าน 4 โซนหลัก
โซนที่ 1 Rice (a)maze ทางสายข้าว พาเรียนรู้ความแตกต่างของพื้นที่ปลูกที่ทำให้รสชาติข้าวแปรเปลี่ยนไปตามนิเวศวัฒนธรรมของพื้นที่นั้น ๆ
โซน 2 Rice Flavors รสชาติข้าว มีการตั้งวงถกประเด็นความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ของข้าว จนเกิดเป็น Rice Flavor Wheel ที่ช่วยบ่งบอกกลิ่น รสชาติ รสสัมผัสของข้าวพื้นถิ่นในภาคอีสาน เพื่อการอนุรักษ์และปรับปรุงสายพันธุ์ข้าว
โซน 3 Rice Unloaded ข้าวยุคใหม่ แสดงสินค้าที่มาจากแนวคิด Rice Flavor ทำให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของข้าวท้องถิ่นว่า ข้าวท้องถิ่นก็สามารถแปรรูปใหม่ ให้เป็นสินค้าใหม่ที่น่าสนใจได้
โซน 4 Rice Standard ผู้เข้าชมจะได้เรียนรู้มาตรฐานของข้าว การสร้างมาตรฐานของข้าวอีสานให้ก้าวหน้าเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนอีสานบนฐานของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เช่น Thai RiceFlavor Open Database App รวบรวมฐานข้อมูลของข้าว ทั้งพื้นที่ปลูก รสชาติและกลิ่น และมีการวัดคะแนน (Thai Rice Scoring System) เพื่อให้ผู้ใช้แอพติดตามได้ว่า ข้าวนี้ดีขนาดไหน ได้คะแนนจากแอพเท่าไหร่
ภารกิจพัฒนาย่าน : เติมเต็มย่านเก่าสู่ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ คือ พื้นที่ที่กําหนดขึ้นเพื่อส่งเสริมธุรกิจและบริการในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เชื่อมโยงเรื่องราวของย่านที่อยู่อาศัย ผู้คน ธุรกิจดั้งเดิม ด้วยการส่งเสริมธุรกิจสร้างสรรค์และการกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมจากภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่ โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมธุรกิจสร้างสรรค์และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อกระบวนการคิด การผลิต และการตลาดในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ พร้อมทั้งเกื้อกูลธุรกิจดั้งเดิมในพื้นที่ให้ได้รับประโยชน์สูงสุดและดึงดูดนักสร้างสรรค์ ผู้ประกอบการหน้าใหม่ให้เข้ามาลงทุนในย่าน
ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ศรีจันทร์ ถูกชุบชีวิตใหม่ด้วยโปรแกรม Re-telling Srichan ซึ่งในอดีต ชุมชนเจ้าพ่อขุนภักดี คือ ย่านการค้าใจกลางเมืองของขอนแก่น เคยเกิดเพลิงไหม้ เมื่อราว 40 ปีก่อน และได้มีการพยายามฟื้นฟูเรื่อยมา จนกลายเป็นห้องแถวการค้าที่มีเอกลักษณ์
เทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2023 ได้ชุบชีวิตชุมชนเจ้าพ่อขุนภักดีให้กลับมาคึกคักและมีชีวิตชีวา โดยต่อยอดจากเรื่องราวของชุมชน ธุรกิจดั้งเดิม เช่น ร้านค้าปลีก ร้านเสริมสวย ร้านอาหาร ร้านตัดเสื้อ และร้านผ้าม่าน มาสร้างตัวตนใหม่และเผยให้เห็นความเป็นไปได้ใหม่จากการเป็นพื้นที่ทดลองเชิงสร้างสรรค์ คือ การสร้างจุด check-in แห่งใหม่ของเมือง เชื่อมธุรกิจในซอยผ่านกิจกรรมที่คนในชุมชนคุ้นเคยผ่าน 3 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
- Creative Placemaking : Lighting & Installation การจัดแสดงการออกแบบแสงไฟ ภายในชุมชนเจ้าพ่อขุนภักที่ช่วยย้อมให้ย่านไม่หลับใหล
- Creative Business : Creator x Local Business นิทรรศการจัดแสดงผลงานและสินค้าของผู้ประกอบการที่อยู่ในย่านร่วมกับนักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ โดยได้รับแรงบันดาลใจในการออกแบบด้านผ้าทอที่สะท้อนการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยความคิดสร้างสรรค์
- Co-create a Creative Community : Music & Performance กิจกรรมการแสดงดนตรีจากนักดนตรีท้องถิ่นในจังหวัดขอนแก่น สร้างความครึกครื้นให้ชุมชนและส่งเสริมอุตสาหกรรมบันเทิงในท้องถิ่น
ย่านกังสดาล – โครงการพัฒนากังสดาล ย่านเดินเท้า ครั้งที่ 2 มีแนวคิดมาจากการส่งเสริมการเดินเท้าในพื้นที่ย่านกังสดาล ย่านพักอาศัยใกล้มหาวิทยาลัยขอนแก่นที่มีความคึกคักและมีชีวิตชีวาทั้งกลางวันและกลางคืนผ่านการจัดแสดงนิทรรศการจากนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้เดินชมตลอดทั้ง 9 วัน และการสร้างสรรค์ทางเดินเท้าด้วยการเพ้นท์ลวดลายให้ชวนน่าเดินมากขึ้น รวมถึงทางม้าลายที่เป็นเอกลักษณ์ของสวนสาธารณะบึงหนองแวงตราชู
นอกจากนี้ยังมีเวิรก์ช็อป งานศิลปะ และงานฝีมือ และการจัดแสดงผลงาน 3D Printing Concrete จาก CPAC 3D Printing Solution ให้ผู้เยี่ยมชมได้ทดลองใช้พื้นที่บนเฟอร์นิเจอร์ดีไซน์ใหม่ได้ตามอัธยาศัย
มาร่วมสัมผัสประสบการณ์ใหม่ได้ถึงวันที่ 9 เม.ย.นี้ มาร่วม ‘ตื่มบ้านตื่มเมือง’ เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ในย่านเดิมที่ถูกเนรมิตให้กลายเป็นย่านสร้างสรรค์ได้ในเทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2566 ที่จะทำให้ทุกคนได้เห็นว่าภูมิปัญญาอีสานมีอะไรให้ทึ่งมากกว่าที่คิดและกิจกรรมสร้างสรรค์บน 2 ย่านใจกลางเมืองขอนแก่น ย่านกังสดาล – ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ศรีจันทร์ ระหว่างวันที่ 1 – 9 เมษายน 2566 ตั้งแต่เวลา 11:00 – 21:00 น.
ข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ www.Isancreativefestival.com, FB/IG : Isancreativefestival, Line: @isancf #isancf2023 #isancreativefestival #เทศกาลอีสานสร้างสรรค์
(Short Version for FB Caption)
เจาะลึก! ความเป็นอีสานในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ยกระดับศักยภาพผ่านเทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2566
ชวนทำความรู้จักกับเบี้องหลังแนวคิดการจัดเทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2566 หรือ Isan Creative Festival 2023 (ISANCF2023) กับนิทรรศการและกิจกรรมที่หยิบยกมาเพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความเป็นไปได้ของความเป็นอีสานที่อยู่ใน 2 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และภารกิจพัฒนาย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บน 2 ย่านหลักของเมืองขอนแก่น กังสดาล-ศรีจันทร์ ที่บอกเลยว่าไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง
ความเป็นอีสานกับอุตสาหกรรมบันเทิง (Isan Entertainment) กับ นิทรรศการหมอล้ำ หมอลำ (The Future Of Molam) นิทรรศการที่บอกเล่าเรื่องราวของ เครื่องมือทางวัฒนธรรมที่บอกเล่าการดำรงชีวิต ความเป็นอยู่ ความบันเทิงของคนอีสาน ที่มีการปรับให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของโลกอยู่เสมอ จนสามารถได้สร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการมากมาย ปัจจุบันอุตสาหกรรมหมอลำดังไปไกลสู่ระดับสากลและแฝงความเป็น Soft power ของอีสานอยู่ในทุกอณูของจังหวะ แสดงให้เห็นถึงหมอลำสามารถพัฒนาและต่อยอดไปได้อีกไกลในอนาคต
ความเป็นอีสานในอุตสาหกรรมอาหาร (Isan Gastronomy) คือ นิทรรศการรสชาติข้าวอีสาน (Isan Rice Flavors Exhibition) ข้าวมักถูกมองว่าเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity Product) ไม่ว่าผลผลิตข้าวนั้นจะมาจากสถานที่ที่แตกต่าง นิทรรศการนี้ จึงตั้งคำถามว่า “ข้าว” สามารถเป็นอะไร และทำอะไรได้บ้าง? หากเรามี Wine Sommelier หรือ Specialty Coffee ที่ช่วยให้กาแฟและองุ่นมีคุณภาพสูงขึ้นและขยายกลุ่มลูกค้าถึงระดับโลก “ข้าว” ก็เป็นไปได้เช่นเดียวกัน ผ่านการนำเสนอศักยภาพของข้าวผ่าน 4 โซนหลัก
–โซนที่ 1 Rice (a)maze ทางสายข้าว
–โซน 2 Rice Flavors รสชาติข้าว
–โซน 3 Rice Unloaded ข้าวยุคใหม่
–โซน 4 Rice Standard
ภารกิจพัฒนาย่าน : เติมเต็มย่านเก่าสู่ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ศรีจันทร์ ถูกชุบชีวิตชุมชนเจ้าพ่อขุนภักดีด้วยโปรแกรม Re-telling Srichan จากย่านการค้าใจกลางเมืองที่เคยเกิดเพลิงไหม้ เมื่อราว 40 ปีก่อน ถูกพัฒนาจากต่อยอดจากเรื่องราวของชุมชน ธุรกิจดั้งเดิม มาสร้างตัวตนใหม่และเผยให้เห็นความเป็นไปได้ใหม่จากการเป็นพื้นที่ทดลองเชิงสร้างสรรค์ ผ่าน 3 ยุทธศาสตร์
-Creative Placemaking : Lighting & Installation
-Creative Business : Creator x Local Business
-Co-create a Creative Community : Music & Performance
ย่านกังสดาล – โครงการพัฒนากังสดาล ย่านเดินเท้า ครั้งที่ 2 แนวคิดการส่งเสริมการเดินเท้าในพื้นที่ย่านกังสดาล ผ่านการจัดแสดงนิทรรศการจากนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้เดินชมตลอดทั้ง 9 วัน และการสร้างสรรค์ทางเดินเท้า และ ทางม้าลายบริเวณบึงหนองแวงตราชู ด้วยการเพ้นท์ลวดลายให้ชวนน่าเดินมากขึ้น พร้อมเวิรก์ช็อป งานศิลปะ งานฝีมือ และการจัดแสดงผลงาน 3D Printing Concrete จาก CPAC 3D Printing Solution ให้ผู้เยี่ยมชมได้ทดลองใช้พื้นที่บนเฟอร์นิเจอร์ดีไซน์ใหม่ได้ตามอัธยาศัย
มาร่วมสัมผัสประสบการณ์ใหม่ได้ถึงวันที่ 9 เม.ย.นี้ มาร่วม ‘ตื่มบ้านตื่มเมือง’ เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ในย่านเดิมที่ถูกเนรมิตให้กลายเป็นย่านสร้างสรรค์ได้ในเทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2566 ที่จะทำให้ทุกคนได้เห็นว่าภูมิปัญญาอีสานมีอะไรให้ทึ่งมากกว่าที่คิดและกิจกรรมสร้างสรรค์บน 2 ย่านใจกลางเมืองขอนแก่น ย่านกังสดาล – ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ศรีจันทร์ ระหว่างวันที่ 1 – 9 เมษายน 2566 ตั้งแต่เวลา 11:00 – 21:00 น.
ข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ www.Isancreativefestival.com, FB/IG : Isancreativefestival, Line: @isancf #isancf2023 #isancreativefestival #เทศกาลอีสานสร้างสรรค์