ธนาคารเพื่อการเกษตร ระบุว่า (ธ.ก.ส.) เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อ “พอเพียงเพื่อเลี้ยงชีพ” สำหรับกลุ่มเกษตรกรและประชาชนทั่วไป ซึ่งยังไม่เคยเป็นลูกค้าของ ธ.ก.ส. โดยคิดดอกเบี้ย 0% เป็นเวลา 3 เดือนแรก เพื่อ “ประกอบอาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” หรือ สร้างงานอื่นๆ เพื่อเลี้ยงชีพในครัวเรือน ในวงเงิน 5 หมื่นบาท
ธ.ก.ส. ระบุว่าจุดประสงค์ของสินเชื่อใหม่นี้ คือ การเป็นเงินทุนให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งเดินทางกลับภูมิลำเนา เพื่อให้มีเงินทุนในการสร้างอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร หรือ อาชีพอื่นๆ เช่น ใช้เป็นต้นทุนเพื่อขายอาหาร ขายสินค้าออนไลน์ เปิดร้านซักรีด ร้านเสริมสวย อู่ซ่อมรถ ขายของรถเข็น นวดแผนโบราณ เป็นต้น
เงื่อนไขการกู้สินเชื่อ “พอเพียงเพื่อเลี้ยงชีพ”
คุณสมบัติผู้กู้สินเชื่อ
เป็นเกษตรกร ทายาทของเกษตรกร บุคคลในครัวเรือนเกษตรกร หรือบุคคลทั่วไปที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 และภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อหาแนวทางประกอบอาชีพใหม่
ไม่เคยขึ้นทะเบียนเป็นลูกค้าของ ธ.ก.ส. มาก่อน ทั้งนี้ ผู้ที่มีสมาชิกในครัวเรือนเป็นลูกค้าของ ธ.ก.ส. อยู่แล้ว และยังไม่แยกการทำกินหรือทรัพย์สินออกจากกันอย่างชัดเจน จะสามารถขึ้นทะเบียนเป็นลูกค้าเฉพาะกิจได้เฉพาะโครงการนี้เท่านั้น
มีแผนการประกอบอาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรืออาชีพอื่นๆ ในลักษณะเพื่อเลี้ยงชีพในครัวเรือนซึ่งใช้เงินลงทุนไม่มากนัก
ระยะเวลาจ่ายสินเชื่อ
– ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564
วงเงินสินเชื่อ
– กำหนดวงเงินสินเชื่อสูงสุด ไม่เกิน 50,000 บาท ต่อราย
การชำระคืน
– ไม่เกิน 12 เดือน นับตั้งแต่วันที่กู้ เว้นแต่มีเหตุพิเศษไม่เกิน 18 เดือน
อัตราดอกเบี้ย
– เดือนที่ 1-3 คิดดอกเบี้ยอัตรา 0% ต่อปี
– เดือนที่ 4 เป็นต้นไป คิดตามอัตรา MRR ซึ่งปัจจุบันเท่ากับ 6.5% ต่อปี
หลักประกัน
– ใช้ที่ดิน หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นที่อยู่อาศัยจำนองเป็นประกันหนี้ ให้กูได้ไม่เกินร้อยละ 95 ของวงเงินจำนอง
– ใช้บุคคลตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปค้ำประกัน ให้กูได้ไม่เกิน 50,000 บาท
– ใช้บุคคลรับรองรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกัน ให้กู้ตามโครงการได้ไม่เกิน 50,000 บาท
ทั้งนี้ โครงการสินเชื่อพอเพียงเพื่อเลี้ยงชีพ เป็นอีกโครงการที่ ธ.ก.ส. จัดขึ้นเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผ่านสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าปกติ ในช่วงที่เศรษฐกิจได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่