ซีพีเอฟทุ่มวิจัยพัฒนาการเลี้ยงสุกร รองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ชี้โรคระบาดยังทำให้สุกรขาดตลาด ราคาปีหน้ายังยืนสูง
นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ “ซีพีเอฟ” เปิดเผยว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีโรคระบาดในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรที่ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ทั้งโรคเพิร์ซ หรือไข้หวัดหมู( PRRS) และโดยเฉพาะโรคอหิวาต์สุกรแอฟริกัน (ASF) ทำให้การเลี้ยงในประเทศจีนและเวียดนามประสบความเสียหาย ก่อให้เกิดภาวะสุกรขาดตลาดอย่างมาก
การพยายามกลับมาเลี้ยงใหม่ก็อาจจะยังประสบความเสียหายได้ หากระบบการเลี้ยง ไม่มีมาตรการป้องกันด้าน ชีวอนามัยที่เคร่งครัด ซึ่งหลังจากนี้โครงสร้างอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต จะยั่งยืนได้ต้องมีการวิจัยและพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ ครอบคลุมตั้งแต่บริหารต้นทุนให้ลดลง จากการสรรหาวัตถุดิบ การเพาะพันธุ์ให้ได้มาซึ่งพันธุ์ที่แข็งแรง และการมี มาตรฐานอาชีวอนามัย เพื่อป้องกันโรคระบาดในการเลี้ยงเพิ่มขึ้น นอกเหนือไปจากการมีฟาร์มและการจัดการการเลี้ยงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมพร้อมแหล่งน้ำในการผลิตที่พอเพียง
ทั้งนี้ ซีพีเอฟจึงมุ่งมั่นในการวิจัยและพัฒนามาตรฐานการเลี้ยงที่มีมาตรฐานชีวอนามัยที่สูง ประกอบกับการพัฒนาพันธุ์สุกรให้มีความเข้มแข็งมีความต้านทานโรคสูงอย่างต่อเนื่อง
เพื่อนคุณอ่านข่าวนี้
- ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเตรียมเฮ ก.แรงงาน จับมือ ก.คลัง ติดอาวุธแก้จน
- ผู้สูงอายุเฮ! เที่ยววันธรรมดา รัฐช่วยจ่าย 5,000 บาทต่อคน
- ประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 (งวดที่ 6)
- ตรวจสอบ “เงินประกันรายได้เกษตรกร” ยังไม่ได้เช็คที่นี่!!
“ การที่โรค ASF ได้ทำให้สุกรขาดตลาดในประเทศจีน เวียดนามและประเทศเพื่อนบ้านของไทย ทำให้มีการนำเข้าสุกรจากประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างมากและความต้องการยังมีมาต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาหมูในไทยปรับตัวสูงขึ้นในช่วงนี้ การจะเร่งการเลี้ยงสุกรในหลายประเทศให้มีผลผลิตเท่าก่อนมีโรค ASF ในภูมิภาคนี้อาจใช้เวลาอีกประมาณ 2-3 ปี และสุกรอาจไม่ใช่สินค้าโภคภัณฑ์พื้นฐานอีกต่อไป”
ความสามารถในการเลี้ยงให้ปลอดโรคและมีต้นทุนที่มีประสิทธิภาพจะเป็นปัจจัยหลักสำหรับความสำเร็จของธุรกิจสุกร จึงมองว่า ราคาสุกรใน 1- 2 ปีข้างหน้าในภูมิภาคนี้ น่าจะยังคงอยู่ในระดับที่สูง จากภาวะสุกรขาดตลาด
ข้อมูลข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ