นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผยว่า กระทรวงฯได้ขับเคลื่อนนโยบาย กัญชาทางการแพทย์และส่งเสริมให้กัญชาและกัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ ตามนโยบายของรัฐบาล โดยเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ได้มีการประชุมคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ และมีมติเห็นว่า วิถีภูมิปัญญาด้านสุขภาพของไทยมีการนำส่วนของใบกิ่งก้านลำต้นรากมาใช้ จึงปลดส่วนนี้ออก ออกจากการเป็นยาเสพติดให้โทษ เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงมากขึ้น
โดยร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ… ที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ยังคงสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ ในขั้นตอนต่อไป และจะเสนอร่างฯให้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อมีผลบังคับใช้ต่อไป
สาระสำคัญของร่างประกาศฉบับนี้ กำหนดให้ส่วนต่างๆของพืชกัญชาและกันชง เฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้ปลูก ผลิต หรือ สกัดในประเทศไทย ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ได้แก่
1.เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้านและราก
2.ใบซึ่งไม่มียอด หรือ ช่อดอกติดตามด้วย
3.สารสกัดที่มีสารแคนนายิไดออล เป็นส่วนประกอบและมีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอยด์ ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก
4.เมล็ดกัญชง น้ำมันจากเมล็ดกันชง หรือ สารสกัดจากเมล็ดกัญชง
หลังจากออกประกาศสามารถนำแต่ละส่วนที่ผลจากยาเสพติด ไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เพื่อดูแลสุขภาพของตน เช่น ใบ ใช้ในตำรับยาแผนไทยผลิตสมุนไพร เปลือก แก่น ลำต้น เส้นใหญ่ ใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ สารสกัดใช้ในอุตสาหกรรมยาผลิตภัณฑ์สมุนไพรล้าง เครื่องสำอางเมล็ด หรือ น้ำมันจากเมล็ดกันชง ใช้ในอาหารและเครื่องสำอาง
ส่วนการอนุญาตให้ครอบครัวปลูก 6 ต้นตามนโนบายนั้น ต้องได้รับการอนุญาตการปลูกจาก อย. พร้อมทั้งต้องมีคุณสมบัติและวัตถุประสงค์ชัดเจนว่าจะไปใช้ทางการแพทย์ และการดูแลตัวเอง แต่ยังไม่อนุญาตให้ไปใช้ในทางสันทนาการ
สามารถตรวจสอบผู้ได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ อย. http://cannabis.fda.moph.go.th