วันที่ 1 มิ.ย. 2564 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ชี้แจงร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2565 ในวาระรับหลักการ วันที่ 2 ระบุว่า จากข้อคำอภิปรายของสมาชิกฯ หลายท่านในข้อสงสัยของงบประมาณกระทรวงกลาโหมมากกว่ากระทรวงสาธารณสุขซึ่งกำลังมีภารกิจในการแก้ไขปัญหาโควิด และมองว่า รัฐบาลให้ความสำคัญน้อยนั้น
พล.อ.ประยุทธ์ ชี้แจงว่า งบประมาณของกระทรวงกลาโหมในปี 2565 มีประมาณ 203,000 ล้านบาท ถูกปรับลดต่อเนื่องตั้งแต่ปี 63 จากเดิม 232,000 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับงบประมาณของกระทรวงสาธารณสุข จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ เช่นกองทุนหลักประกันสุขภาพ กองทุนการแพทย์ฉุกเฉิน กองทุนภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย รวมกว่า 295,681 ล้านบาท
กระทรวงกลาโหม 92,399 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายที่ถูกปรับลดไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่กระทบกับประชาชน แต่เป็นค่าใช้จ่ายในส่วนของปฎิบัติงานใหม่แบบนิวนอร์มอล เช่น การใช้จ่ายในการสัมนา ค่าใช้จ่ายประชาสัมพันธ์ งบประมาณปี 2565 เน้นการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม 73,300 ล้านบาท
ด้านเสริมสร้างทรัพยากรมนุษยอีก 5 แสนล้านบาท รัฐบาลเน้นสวัสดิการประชาชน ทั้งอุดหนุนเด็กแรกเกิดทุกปี โดยมีเด็ก 2.665 ล้านคนได้ประโยชน์
โครงการเรียนฟรี 15 ปี มีเด็กได้รับประโยชน์ 11 ล้านคน วงเงิน 8.1 ล้านบาท นอกจากนี้รัฐบาลไม่เคยลดงบประมาณด้านการศึกษา แต่ที่น้อยลงจากปี 2564 ร้อยละ 1.14 เนื่องจากจำนวนนักเรียนลดลงกว่า 60,000 คน ตามโครงสร้างประชากร
ขณะที่โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีการเพิ่มมากขึ้นทุกปีเป็น 198,891 ล้านบาท เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาล นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มค่าตอบแทน อสม. ทั่วประเทศจำนวน 12,625 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2564
งบประมาณด้านสังคมสำหรับเบี้ยผู้พิการ 19,780 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี มากกว่า ปี 2564 งบประมาณด้านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 30,000 ล้านบ้านบาท ลดลงจากปี 2564 เนื่องจากมีเงินเหลือเดิม เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 11 ล้านคน จำนวน 83,993 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2564
รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับงบประมาณในการบริหารจัดการสถานการณ์โควิด-19 ทั้งสิ้น 117,862 ล้านบาท ทั้งค่าตอบแทนเสี่ยงภัยเจ้าหน้าที่ การจัดซื้อจัดหาคุรุภัณฑ์ ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยโควิด-19 ค่าใช้จ่ายวัคซีนทั้งการพัฒนาวิจัย การจัดซื้อจัดหา การรักษาอาการผลข้างเคียง การเฝ้าระวังควบคุมฯ จะเห็นได้ว่า รัฐบาลมีความจำเป็นเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์โควิด
“เรื่องการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่ต่างคนต่างมีเหตุผล สำหรับผมไม่ต้องการให้มีการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างใดใดทั้งสิ้น แต่สิ่งสำคัญทุกคนต้องประเมินว่า ภัยคุกคามวันนี้เกิดที่ไหนบ้าง รอบบ้านมีไหม ประเทศข้างเคียงมีไหม จะมีการสู้รบเกิดขึ้นหรือเปล่า จะมีกระสุนมาตกอีกหรือไม่ จะมีความจำเป็นสำหรับผู้ได้รับผลกระทบในการสู้รบภายในประเทศหรือไม่หรือไม่ นี่คือภาระของเรา เพราะฉะนั้นยานพาหนะทุกอย่างสามารถใช้ดูแลเรื่องเหล่านี้ได้ทั้งสิ้น ทั้งเฮลิคอปเตอร์ รถยานเกาะ เตรียมไว้ ไม่ใช่แค่เฉพาะทหารอย่างเดียวเราต้องดูแลประชาชนให้ได้ด้วย เป็นเพียงการจัดซื้อจัดหา 1 ใน 3 ของความต้องการทั้งหมด” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ ตอนท้ายว่า การเจรจากับแต่ละประเทศก็แตกต่างกันว่าจะใช้วิธีการใด ส่วนเรื่องเรือดำน้ำก็ได้เจรจากับจีน ขอเลื่อนออกไป 2 ปี หากมีลำเดียวและเกิดอะไรขึ้นมา ใครจะไปช่วย จึงต้องเตรียมความพร้อม มหาสมุทรอินเดีย ทะเลจีนใต้ จะเกิดอะไรขึ้นหรือไม่ การที่เรามี ไม่ใช่มีไว้รบ แต่มีไว้เพื่อไม่ต้องรบ เพื่อศักยภาพของเรา เพราะจะมีผลด้านเศรษฐกิจและความมั่นคง
ที่มาข่าว workpointtoday