เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 2564 นายสรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า กรมปศุสัตว์ ได้ส่งหนังสือลงวันที่ 1 มิ.ย. 2564 ถึงผู้ว่าราชการ 76 จังหวัดทั่วประเทศ เรื่องการให้ความช่วยเหลือเกษตรกร กรณีการระบาดของโรคลัมปี สกิน (Lumnpy Skin Disease : LSD) โดยใช้ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปี 2560 และ ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ปี 2562
มีหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ปี 2563 เพื่อให้ความช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ปี 2556 ด้วยได้มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคลัมปี สกิน ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่พบในโค กระบือ และสัตว์เคี้ยวเอื้องต่างๆ ตามรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคลัมปี สกิน (LSD)
สำหรับอัตราเงินชดเชยรายได้ให้เกษตรกรเจ้าของโค กระบือ ตามจริง แต่ไม่เกินรายละ 2 ตัวเป็นเงินสดผ่านบัญชีเงินฝากเกษตรกร สัตว์อายุ น้อยกว่า 6 เดือน โคจ่ายเงินเยียวยา 6,000 บาทต่อตัว กระบือเยียวยา 8,000 บาทต่อตัว จ่ายตามจริง แต่ไม่เกินรายละ 2 ตัวต่อราย, อายุ 6 เดือนถึง 1 ปี โคจ่ายเงินเยียวยา 12,000 บาทต่อตัว กระบือเยียวยา 14,000 บาทต่อตัว, อายุมากกว่า 1 ปี ถึง 2 ปี โคจ่ายเงินเยียวยา 16,000 บาทต่อตัว กระบือเยียวยา 18,000 บาทต่อตัว, อายุมากกว่า 2 ปี โคจ่ายเงินเยียวยา 20,000 บาทต่อตัว กระบือเยียวยา 22,000 บาทต่อตัว
“เงินชดเชยเยียวยาตามระเบียบราชการ จะจ่ายตามจริงไม่เกินรายละ 2 ตัว หากเลี้ยงทั้งโค และกระบือ และเป็นโรคลัมปี สกิน ทั้งโคและกระบือ ต้องรับสิทธิชดเชยได้ทั้งโคและกระบือ แต่ไม่เกิน 2 ตัว”
นายสรวิศ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันมีรายงานการเกิดโรคในพื้นที่ 41 จังหวัด ณ วันที่ 28 พ.ค. มีเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 3,724 ราย โค กระบือ ทั้งหมดจำนวน 72,874 ตัว โคและกระบือ ป่วยสะสม จำนวน 10,023 ตัว แบ่งเป็น โคเนื้อ จำนวน 9,342 ตัว โคนม จำนวน 244 ตัว และกระบือ จำนวน 37 ตัว ตายสะสม จำนวน 93 ตัว แบ่งเป็น โคเนื้อ จำนวน 91 ตัว และโคนม จำนวน 2 ตัว
เพื่อให้มีการเฝ้าระวัง ควบคุม และกำจัดโรคลัมปี สกิน (LSD) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ร่วมกันให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ที่ได้รับ ผลกระทบที่มีสัตว์เลี้ยงป่วยหรือป่วยตายจากการระบาดของโรคดังกล่าว เห็นควรให้ปศุสัตว์จังหวัดดำเนินการ ดังนี้
1.ประสานขอความร่วมมีอองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้การสนับสนุนในการป้องกันควบคุม การแพร่ระบาตของโรคลัมนี สกิน (LSD) เพื่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกรเฉพาะหน้าเร่งด่วน เช่น การจัดซื้อยา เวชภัณฑ์ ยากำจัดแมลงพาหะและอื่นๆ รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรกรณี สัตว์ป่วยตายด้วยโรคลัมปี สกิน (LSD) โดยพิจารณาใช้จายงบประมาณช่วยเหลือประชาชนตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือบระชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2.ประสานงานกับสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดในพื้นที่ที่เกิดโรค เพื่อเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน และให้ปศุสัตว์อำเภอหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ เพื่อสำรวจตรวจสอบสัตว์ที่ตายตามความเป็นจริงพร้อมบันทึกภาพและรวบรวมเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการขดเชยกรณีสัตว์ป่วยตายด้วยโรคระบาดสัตว์ชนิดโรคลัมปี สกิน (LSD)
ข้อมูลข่าวจาก ข่าวสด