ปคบ.ร่วม อย. รวบหนุ่มลักลอบผลิตแคปซูลยาฟ้าทะลายโจร ผงะ!!! พบบรรจุผงบอระเพ็ดแทนผงฟ้าทะลายโจร
วันที่ 3 สิงหาคม 2564 กองบังคับการปราบปรามการกระทําผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) โดย พล.ต.ต.ณัฐศักดิ์ เชาวนาศัย ผบก.ปคบ. และ พ.ต.อ.เนติ วงษ์กุหลาบ ผกก.4 บก.ปคบ. สํานักงานคณะกรรมการ อาหารและยา โดย นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และ ภญ.สุภัทรา บุญเสริม ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านสาธารณสุข รักษาราชการแทนรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกัน แถลงผลการปฏิบัติจับกุมผู้ต้องหาลักลอบผลิตแคปซูลยาฟ้าทะลายโจรโดยไม่ได้รับอนุญาต ตรวจสอบพบว่าใช้ผง บอระเพ็ดบรรจุในแคปซูลแทนผงฟ้าทะลายโจร รวมมูลค่าของกลางกว่า 400,000 บาท
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทําให้มีผลิตภัณฑ์ยา ผลิตภัณฑ์สมุนไพร หรือผลิตภัณฑ์เสริม อาหารที่โฆษณาว่าสามารถยับยั้ง บรรเทา หรือป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ออกมาจําหน่ายให้กับประชาชนเป็นจํานวนมาก พล.ต.ต.ณัฐศักดิ์ เชาวนาศัย ผบก.ปคบ. มีความห่วงใยในสุขภาพของพี่น้องประชาชน เกรงว่าจะได้รับอันตรายจาก การบริโภคผลิตภัณฑ์ยา ผลิตภัณฑ์สมุนไพร หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดังกล่าว จึงได้สั่งการให้ พ.ต.อ.เนติ วงษ์กุหลาบ ผกก.4 บก.ปคบ. ตรวจสอบ สถานที่ผลิต สถานที่จําหน่ายและผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพหรือผลิตโดยไม่ได้รับอนุญาต จากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
กองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคได้ประสานการปฏิบัติงานร่วมกับ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่ผิดกฎหมาย โดยสืบสวนจนทราบว่ามีผู้ลักลอบผลิตและ จําหน่ายยาฟ้าทะลายโจรโดยไมไ่ ด้รับอนุญาต จึงได้ติดต่อขอซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
ต่อมาเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 นายธนโชติ (สงวนนามสกุล) ได้นําผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจร จํานวน 100 ขวด มาส่งให้กับเจ้าหน้าที่ตํารวจ ตรวจสอบพบว่าเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ผลิตโดยไม่ได้รับอนุญาต จากนั้นจึงได้ขยายผลเข้า ตรวจค้นบ้านพัก หมู่ 4 ต.กําแพงแสน อ.กําแพงแสน จ.นครปฐม ซึ่งใช้เป็นสถานที่ผลิตยาฟ้าทะลายโจร ตรวจพบผลิตภัณฑ์ แคปซูลฟ้าทะลายโจร, แคปซูลบรรจุในซอง ยังไม่ติดฉลาก และขวดเปล่าพร้อมฝาจํานวนมาก
สอบถามนายธนโชติฯ ให้การรับว่า เป็นเจ้าของบ้านและลักลอบผลิตยาฟ้าทะลายโจรดังกล่าวจริง โดยทํามานานประมาณ 1 เดือน และเนื่องจากช่วงนี้ ยาฟ้าทะลายโจรขายดี ทําให้วัตถุดิบหายาก ประกอบกับตนมีความรู้ด้านสมุนไพร รู้ว่าบอระเพ็ดมีรสขมคล้ายฟ้าทะลายโจร จึงได้นําผงบอระเพ็ดมาบรรจุลงแคปซูลแทนผงฟ้าทะลายโจร เพื่อจําหน่ายให้กับประชาชน
เจ้าหน้าที่ตํารวจได้ตรวจยึด ผลิตภัณฑ์แคปซูลฟ้าทะลายโจร จํานวน 450 ขวด , ผลิตภัณฑ์แคปซูลกระชายขาว จํานวน 50 ขวด, ผลิตภัณฑ์แคปซูลบรรจุผง จํานวน 29 กก., แคปซูลบรรจุผง จํานวน 60,000 แคปซูล, แคปซูลบรรจุใน ซอง ยังไม่ติดฉลาก จํานวน 300 ซอง, แคปซูลบรรจุในขวด ยังไม่ติดฉลาก จํานวน 460 ขวด, ขวดเปล่าพร้อมฝา จํานวน 6,000 ขวด และสติกเกอร์ฉลากผลิตภัณฑ์ นําส่งพนักงานสอบสวน เพื่อดําเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
เบื้องต้นการกระทําดังกล่าวเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติสมุนไพร พ.ศ. 2562 ฐาน “ผลิตสมุนไพรปลอม” มีอัตราโทษ จําคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท, ฐาน “ ผลิตหรือขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรโดยไม่ได้รับอนุญาต” มีอัตราโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ, ฐาน “ขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรปลอม” มีอัตราโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 300,000 บาท
พล.ต.ต.ณัฐศักดิ์ เชาวนาศัย ผบก.ปคบ. ฝากความห่วงใยมายังพี่น้องประชาชน อย่าเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ยาหรือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตามคําโฆษณา ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร และควรเลือกซื้อจากร้านขายยาหรือร้านค้าที่ เชื่อถือได้ ขอแจ้งเตือนให้ผู้ที่กําลังกระทําความผิด ลักลอบผลิตยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ไม่ได้รับอนุญาต หยุดการ กระทําดังกล่าวทันที หากตรวจพบจะดําเนินคดีถึงที่สุด หากพี่น้องประชาชนพบเห็นการกระทําความผิดสามารถแจ้งได้ ที่ สายด่วน ปคบ.1135 หรือเพจ ปคบ. เตือนภัยผู้บริโภค
ภญ.สุภัทรา บุญเสริม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านสาธารณสุข รักษาราชการแทนรองเลขาธิการ คณะกรรมการอาหารและยา กล่าวในตอนท้ายว่า ในขณะนี้มีประชาชนจํานวนมากให้ความสนใจซื้อผลิตภัณฑ์ ฟ้าทะลายโจร มาตุนเก็บไว้ ทําให้ผลิตภัณฑ์ขาดตลาดอย่างรวดเร็ว จึงเป็นช่องทางให้มิจฉาชีพฉวยโอกาสนําผลิตภัณฑ์ ปลอม หรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานมาจําหน่าย อย. ขอให้ประชาชนระมัดระวังในการซื้อ ผลิตภัณฑ์ ฟ้าทะลายโจรที่ถูกต้อง ฉลากต้องมีเลขทะเบียนตํารับสมุนไพร ขึ้นต้นด้วยอักษร “G” แนะนําว่าก่อนซื้อผลิตภัณฑ์ ขอให้ ตรวจสอบการอนุญาตที่ www.fda.moph.go.th หรือ Oryor Smart Application เพื่อจะได้ไม่เสี่ยงกับผลิตภัณฑ์ที่ ไม่ได้คุณภาพ มาตรฐาน หรือผลิตภัณฑ์ปลอม และหากพบผลิตภัณฑ์ที่สงสัยว่าจะผิดกฎหมาย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ ที่สายด่วน อย. 1556 หรืออีเมล์ 1556@fda.moph.go.th