มาตรการพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้รายย่อย ตามนโยบายรัฐบาลระยะที่ 1 ภายใต้หลักการ “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” เป็นส่วนหนึ่งของมาตรการพักชำระหนี้เกษตรกร ระยะเวลา 3 ปี มีรายละเอียดมาตรการ ดังนี้
1.มาตรการพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้รายย่อย
– เกษตรกรลูกค้ารายย่อย ธ.ก.ส. จำนวน 2.698 ล้านคน ที่มีต้นเงินคงเป็นหนี้คงเหลือทุกสัญญารวมกัน ณ วันที่ 30 ก.ย. 2566 ไม่เกิน 300,000 บาท และมีสถานะเป็นหนี้ปกติและ/หรือเป็นหนี้ค้างชำระ (หนี้ 0-3 เดือน และ NPLs) ได้รับสิทธิ์ในการพักชำระหนี้ระยะแรก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. – 30 ก.ย.66 (เกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ที่ต้องการร่วมมาตรการพักชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 66 – 31 ม.ค. 67 สำหรับลูกหนี้ที่มีสถานะเป็น NPLs จะเข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ได้ เมื่อได้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ของ ธ.ก.ส.แล้ว)
2.ฟื้นฟูลูกหนี้ ธ.ก.ส. ผู้ที่เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ เพื่อบรรเทาภาระหนี้สินเกษตรกร จัดอบรมเกษตรกร คู่ขนานกับมาตรการพักชำระหนี้ เพิ่มโอกาสให้เกษตรกรนำเงินไปลงทุน
-การพักหนี้เกษตรกร จะเริ่มพักหนี้ก่อนเป็นเวลา 1 ปี ถึงสิ้นเดือนก.ย. 67
-สำรวจลูกค้าและต่อสัญญาการพักหนี้แบบปีต่อปี
-ประเมินผลโครงการ เพื่อปรับปรุงโครงการระยะต่อ ๆ ไป
การตัดหนี้เมื่อผู้เข้าร่วมมาตรการฯ ชำระหนี้ แบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้
1.ลูกหนี้สถานะปกติ
– จ่ายหนี้ระหว่างร่วมการพักหนี้ ธ.ก.ส. จะนำเงินไปตัดหนี้สัดส่วนครึ่งต่อครึ่ง แบ่งเป็น เงินต้นครึ่งหนึ่ง และดอกเบี้ยอีกครึ่งหนึ่ง
2.ลูกหนี้สถานะหนี้เสีย (NPL)
– ลูกค้ากลุ่มนี้เข้าร่วมโครงการ และสามารถชำระเงินได้ ธ.ก.ส. จะทำการตัดเงินต้นให้ 100%
– เปิดโอกาสให้ลูกหนี้กู้เพิ่มได้ ผ่านสินเชื่อฟื้นฟูการประกอบอาชีพ รายละไม่เกิน 1 แสนบาท และอัตราดอกเบี้ยต่ำ