ทุกวันนี้ในโลกสังคมที่มีความทันสมัย พฤติกรรมของคนก็ย่อมแตกต่างกันออกไปตามบริบทที่พบเจอ บางคนชอบเก็บตัวอยู่คนเดียว บางคนชอบเข้าสังคม บางคนมีความก้ำกึ่งระหว่างสองประเภทนี้ และบางคนมักเป็นคนขี้กังวล แล้วคนที่เป็นคนขี้กังวล ชอบคิดมาก ดีหรือไม่?
จากงานวิจัยล่าสุดที่ทำการศึกษากระบวนการของกลุ่มคนเหล่านี้ พบว่าคนที่คิดมากมีพัฒนาการ และความคิดสร้างสรรค์อย่างไม่น่าเชื่อ โดยนักวิจัยจาก King’s College ในกรุงลอนดอน รายงานความเชื่อมโยงระหว่างความรู้สึกวิตกกังวลมากเกินไป และจินตนาการที่แข็งแกร่ง ดังนั้นบทความนี้เรามาทำความเข้าใจผลการวิจัยนี้ให้ลึกซึ้งกันดีกว่า
ความกังวลเป็นจุดกำเนิดของความฉลาด
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เกิดขึ้นเพราะความกังวลในอนาคตของมนุษย์ที่กลัวถึงความอดยาก กลัวเผ่าอื่นเข้ามาแย่งอาหาร จึงเกิดจินตนาการขึ้นมา เพื่อให้ตัวเองเอาตัวรอดจากภัยอันตราย และพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นกว่าเดิม เช่น คนส่วนใหญ่จะคิดว่าการล็อคประตูบ้าน และปิดหน้าต่าง เพียงพอแล้วที่จะสร้างความปลอดภัย แต่คนที่คิดมากกว่านั้น เขาจะวางไม้เบสบอล หรือไม้กอล์ฟไว้ใกล้กับประตู หรือซ่อนปืนไว้เพื่อสร้างความปลอดภัย
อย่างไรด็ตาม ความกังวลไม่ใช่แค่คิดเฉพาะเรื่องภายนอกเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เขายังคิดถึงเรื่องภายในอีกด้วยว่า หากเด็กน้อยไปเจอปืน และเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้น จะเป็นยังไง ดังนั้น คนที่คิดมากก็จะเก็บปืนไว้ในที่ที่ปลอดจากมือเด็ก
จะเห็นได้ว่าการมีจินตนาการสูง แม้เหตุการณ์ที่คิดจะยังไม่เกิดขึ้นก็ตาม คือการเตรียมความพร้อมอย่างหนึ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสูญเสียตามมา
จินตนาการที่สดใสจะช่วยให้ได้รับชัยชนะ
ผู้คนในยุคปัจจุบันมักค้นหาวิธีอันสร้างสรรค์จัดการปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิต และสร้างความปลอดภัยให้กับตัวเอง โดยในอดีต บรรพบุรูษของเราสามารถสร้างจินตนการได้อย่างเหลือเชื่อ ซึ่งในช่วงฤดูร้อนที่สุดแห่งปี ทุกสิ่งทุกอย่างในธรรมชาติต่างมีมากมาย มนุษย์สามารถหาอาหารได้อย่างอิสระ แต่คนเหล่านี้ก็จินตนาการไปยังฤดูหนาวที่รออยู่กับการขาดแคลนอาหาร ความต้องการในเรื่องที่อยู่อาศัย และการหาความอบอุ่นให้กับร่างกายเมื่อลมหนาวมาถึง
ความกังวลนี้จึงทำให้มนุษย์ต้องคิดหาวิธีถนอมอาหารสำหรับเก็บไว้บริโภค และนี่จึงเป็นทางออกที่จะทำให้พวกเขาเอาตัวรอด โดยไม่ต้องอดอยาก จนต้องขาดแคลนอาหาร
นักแก้ปัญหา/ศิลปินมักเป็นคนคิดมาก
คนที่มีความสุข มองโลกในแง่ดี จะไม่มานั่งกังวล คิดมากกับเรื่องต่างๆ กลับกันหากเรามองถึงไอแซค นิวตัน, ชาร์ลส์ ดาร์วิน, วินเซ็นต์ แวน โกะห์, เคิร์ต โคเบน พวกเขาเหล่านี้จะมีการครุ่นคิดตลอดเวลา จึงทำให้เขามีความได้เปรียบในเรื่องเสถียรภาพทางอารมณ์น้อยกว่าคนทั่วไป
จากกลุ่มตัวอย่างที่ยกมาส่วนใหญ่คนที่คิดมากอยู่ตลอดเวลา จะเป็นพวกนักวิทยาศาสตร์ และนักดนตรี ซึ่งไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร หากคุณจะฝึกตัวเองให้เป็นคนที่คิดอยู่ตลอดเวลา เพราะจะทำให้คุณกลายเป็นคนอัจฉริยะ สามารถวางแผนอนาคต ป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้
อ่านข่าวต้นฉบับ https://www.smartsme.co.th/content/216355