เรากำลังทำงานหนักจนแทบไม่มีเวลาพักอยู่หรือเปล่า? การทุ่มเทให้กับงานของคนยุคใหม่ ตลอดจนพฤติกรรมการใช้ชีวิตรวมทั้งการเผชิญกับมลภาวะรอบตัวในทุกวัน ได้สร้างโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ มาทำร้ายเราซึ่ง “โรคหลอดเลือดสมอง” ก็เป็นอีกหนึ่งในโรคยอดฮิตที่คร่าชีวิตคนไทย
ล่าสุดก็มีข่าวนักแสดง และผู้กำกับชื่อดัง ถูกหามส่งโรงพยาบาลกะทันหัน เมื่อวันที่ 16 ส.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากวูบกลางกองละคร โดยแพทย์ตรวจพบเส้นเลือดในสมองตีบ
ทั้งนี้ โรคหลอดเลือดสมอง ( stroke ) เป็นต้นเหตุของอาการอัมพฤกษ์-อัมพาต และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต โดยเฉพาะในเพศชาย ในแต่ละปีมีคนทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง ประมาณ 6 ล้านคน และในประเทศไทย โรคหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตเป็นอันดับ 3 รองจากโรคมะเร็งและโรคหัวใจ ซึ่งโรคนี้แม้จะดูอันตราย แต่ป้องกันได้ ถ้าเราเริ่มต้นดูแลตัวเองตั้งแต่วันนี้ โดยหมั่นสำรวจความผิดปกติของร่างกายอยู่เสมอ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยง ก็จะช่วยป้องกันและลดความรุนแรงของการเกิดโรคชนิดนี้ได้ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา น้ำหนักเกินและอ้วน ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ภาวะความดันโลหิตสูง ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ลิ้นหัวใจตีบ หรือรั่ว และภาวะเครียด ทำงานหนักพักผ่อนไม่เพียงพอ โดยมีผลวิจัยพบว่า ผู้ที่ทำงานเป็นกะมีความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 และการทำงานหนักติดต่อเป็นเวลานานก็เพิ่มความเสี่ยงเช่นกัน
โรคหลอดเลือดสมอง เกิดได้จากสาเหตุ 2 ประการคือ หลอดเลือดสมองแตก (พบผู้ป่วยประมาณ 20-30%) และหลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน (พบผู้ป่วยประมาณ 70-80%)
1.หลอดเลือดสมองตีบ มาจากการเปลี่ยนแปลงที่ผนังหลอดเลือดจนส่งผลให้หลอดเลือดตีบลง เช่น มีไขมันและหินปูนมาพอกตัวที่ผนังหลอดเลือดจนส่งผลให้หลอดเลือดตีบลง เช่น มีไขมันและหินปูนมาพอกตัวที่ผนังหลอดเลือดหรือเกิดจากลิ่มเลือดจากที่อื่นมาอุดตันเช่น ลิ่มเลือดจากหัวใจ เป็นต้น
2.หลอดเลือดในสมองแตก เกิดจากความดันโลหิตสูงที่เป็นมานาน หลอดเลือดโป่งพอง เป็นต้น พอหลอดเลือดในสมองแตก ก็จะมีเลือดออกมาและมีการจับตัวของเลือด เกิดเป็นก้อนเลือดไปเบียดเนื้อสมองส่วนอื่น ๆ ทำให้การทำงานของสมองเสียไป
13 สัญญาณเตือนของ โรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมอง เป็นโรคที่อันตรายต่อชีวิต เพราะมีหลายคนที่กว่าจะรู้ตัวว่าป่วยก็มีอาการหนักจนต้องหามส่งโรงพยาบาลแล้ว ขณะที่อีกหลายคนไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า การสังเกตความผิดปกติของร่างกายตัวเองเป็นสิ่งหนึ่งที่ป้องกันอันตรายจากโรคนี้ได้
มีอาการแขนขาอ่อนแรง ซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย
มีอาการชาครึ่งซีก
สูญเสียการทรงตัว
มองไม่เห็นภาพครึ่งหนึ่งของลานสายตา
มองไม่เห็นอาจจะเป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง
มองเห็นภาพซ้อน
พูดไม่ชัด กลือนลำบาก ปากเบี้ยว ลิ้นแข็ง
มีความผิดปกติของการใช้ภาษา พูดไม่ค่อยรู้เรื่อง นึกคำไม่ออก หรือใช้ภาษาผิด
เวียนศีรษะ บ้านหมุน
ปวดศีรษะมาก รุนแรง
แขนขาเคลื่อนไหวสะเปะสะปะ บังคับไม่ได้
12.ความจำเสื่อมหรือหลงลืมแบบทันทีทันใด
ซึมลงจนหมดสติ