Connect with us

อาชีพเกษตร

ขอไฟฟ้าไปไร่นา ง่ายนิดเดียว ขอได้เลย!

Published

on

วิธีการขอไฟฟ้าลงพื้นที่เกษตร2566

ไฟเกษตรคืออะไร และวิธีการขอไฟฟ้าลงพื้นที่เกษตร

ไฟเกษตรคืออะไร

หลายท่านอาจจะสงสัยว่าไฟเกษตรคืออะไร แต่ต่างจากไฟฟ้าในบ้านเรือนทั่วไปหรือไม่ ซึ่งความหมายจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคด้ให้ความหมายว่า

     ไฟเกษตรคือ การนำไฟฟ้ามาใช้ภายในสวนของเกษตรกรเพื่อทำการเกษตร เช่น ใช้กับเครื่องสูบน้ำ หลอดไฟต่าง ๆ เป็นต้น

โดยมีหลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการ 9 ข้อดังภาพด้านล่างนี้

วิธีการขอไฟฟ้าลงพื้นที่เกษตร

ผมมีความตั้งใจที่จะทำฟาร์มเกษตรอินทรีย์เป็นของตัวเอง ด้วยการสนับสนุนของพ่อแม่บวกกับการลงมือทำอย่างต่อเนื่องจนมีพืชหลากหลายชนิดแล้วในไร่ ระบบน้ำที่บริหารจัดการโดยการเจาะน้ำบาดาลและการดูดน้ำจากลำห้วยขึ้นมาใช้ก็เริ่มที่จะลงตัวบ้างแล้ว

        ระยะทางจากบ้านมาถึงไร่ห่างกันประมาณ 10 กม. การเดินทางไปมาค่อนข้างที่จะลำบาก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผมเลือกปลูกไม้ผลแทนการปลูกพืชผักไปก่อนเนื่องจากไม่ต้องดูแลทุกวัน

        ผมวางแผนที่จะสร้างบ้านในพื้นที่ ตื่นเช้ามาได้ดูแลพืชผักอย่างใกล้ชิด จึงเป็นสาเหตุของการขอไฟฟ้าเพื่อนำมาใช้ในการทำเกษตร เพราะถ้ามีไฟฟ้าก็สามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น


ในวันนี้ผมจะมีพูดถึงการขอไฟฟ้าเกษตรในพื้นที่ของตนเอง เพื่อจะได้เป็นแนวทางให้กับผู้ที่สนใจว่าจะมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง โดยมี 3 ขั้นตอนดังนี้

1.ขอบ้านเลขที่

        แน่นอนว่าการขอไฟฟ้ามาลงที่บ้านของเราที่อยู่ในไร่นั้น จำเป็นที่จะต้องมีบ้านเลขที่ในการติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า ในการขอบ้านเลขที่นั้นถ้าเป็นพื้นที่ห่างไกลหมู่บ้าน เราจำเป็นที่จะต้องสร้างเพิงพักหรือทำเป็นบ้านถาวรเลยก็ได้

        และสิ่งต่อไปที่จะต้องสร้างควบคู่กันกับบ้านอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นั้นก็คือ ห้องน้ำนั่นเอง เพราะการมีห้องน้ำจะเปรียบเสมือนว่าเราจะมาอยู่ถาวร (ถึงแม้ว่ายังไม่ได้อยู่ถาวรตอนนี้เลยก็ตาม) ฉะนั้นห้องน้ำจึงมีความจำเป็นมากสำหรับใช้ประกอบหลักฐานในการขอบ้านเลขที่

        หลังจากที่มีบ้านพัก เพิงที่พัก เถียงนาหรืออะไรก็แล้วแต่ที่เหมือนกับที่พัก เราจะต้องถ่ายรูปที่พักและห้องน้ำไปให้อนามัยในพื้นที่มาตรวจพร้อมกับเซ็นต์เอกสารรับรองการเป็นอยู่ที่ถูกสุขลักษณะ จากนั้นก็นำหนังสือไปยื่นกับผู้ใหญ่บ้านหรือผู้รับผิดชอบในการขอบ้านเลขที่ต่อไป

        จากนั้นให้นำหนังสือรับรองจากผู้ใหญ่บ้านไปยื่นต่อที่อำเภอเพื่อลงทะเบียนขอสำเนาทะเบียนบ้าน ตอนนี้เราก็จะมีสำเนาทะเบียนบ้านพร้อมบ้านเลขที่เรียบร้อยแล้ว

ข้อควรรู้

        ในการขอไฟเกษตรต้องดูแนวโน้มในพื้นที่ด้วยว่าจะมีไฟฟ้าเข้ามาด้วยหรือไม่ และต้องมีบ้านอยู่ในโซนเดียวกันตั้งแต่ 3 หลังขึ้นไป

        ผมโชคดีที่ในพื้นที่ที่ผมอยู่มีสหกรณ์รับซื้อน้ำนมโคดิบจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม รัศมีของสหกรณ์ครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ทำให้มีเกษตรผู้เลี้ยงมากถึง 30-40 ฟาร์มด้วยกัน และในพื้นที่ไร่ของผมก็มีผู้เลี้ยงอยู่ด้วยกัน 2 ฟาร์มโดยมีบ้านเลขที่แล้ว 2 หลัง รวมกับบ้านของผมเป็น 3 หลังซึ่งเข้าเกณฑ์ในการขอไฟฟ้าเกษตรพอดี

        ในการขอไฟฟ้าเกษตรเราจะต้องรวมกลุ่มบ้านในโซนเดียวกัน 3 หลังขึ้นไปเพื่อขอไฟฟ้า ย้ำนะครับว่า 3 หลังขึ้นไปถึงจะมีน้ำหนักในการขอไฟฟ้าเข้าในพื้นที่ห่างไกลชุมชน แต่ถ้าในพื้นที่มีบ้านหลังเดียวก็สามารถขอไฟฟ้าพิเศษได้ แต่ค่าไฟจะสูงกว่าปกติครับ

2. ยื่นเรื่องกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

        นำเรื่องไปยื่นกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ของแต่ละท่าน อาจเป็น อบต. หรือเทศบาลก็แล้วแต่ว่าพื้นที่ของเราอยู่ในเขตไหนนะครับ เจ้าหน้าที่ก็จะให้กรอกเอกสารเพื่อรับรองโดยแนบสำเนาทะเบียนบ้านของเราและเพื่อนบ้านไปพร้อมกัน

3. ยื่นเรื่องที่การไฟฟ้าในอำเภอของตนเอง

        หลังจากที่ยื่นเรื่องที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเรียบร้อยแล้วก็นำเอกสารไปยื่นไว้ที่การไฟฟ้าในอำเภอของเรา แล้วกรอกเอกสารให้เรียบร้อย ซึ่งเป็นการยื่นเรื่องไว้รอครับ

        และอย่าลืมถามความเป็นไปได้ในการที่จะได้ไฟฟ้าเข้าในพื้นที่ด้วยนะครับ แนะนำให้รวมกลุ่มกันมาก ๆ 3 หลัง 5 หลังหรือมากกว่า จะทำให้มีน้ำหนักมากขึ้น ซึ่งตอนนี้ทางคุณแม่ผมก็ได้ยื่นเรื่องไว้ที่องค์การไฟฟ้าในอำเภอเรียบร้อยแล้ว โดยต้องรองบประมาณในรอบต่อไปครับ

สรุป การขอไฟเกษตรมาลงในพื้นที่

  1. ขอบ้านเลขที่โดยจะได้สำเนาทะเบียนบ้าน
  2. ยื่นเรื่องที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรวมกันตั้งแต่ 3 หลังขึ้นไป
  3. ยื่นเรื่องทิ้งไว้ที่องค์การไฟฟ้าในอำเภอ รอความคืบหน้า อย่าลืมสอบถามความเป็นไปได้ที่จะมีไฟฟ้าเข้ามาในพื้นที่ด้วยนะครับ

อ่านต่อ
Advertisement
Click to comment

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

งานราชการ

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดรับสมัครและสอบสอบแข่งขันบุคคลภายนอก จำนวน 620 อัตรา

Published

on

สอบตำรวจ25667

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดรับสมัครและสอบสอบแข่งขันบุคคลภายนอก เพื่อบรรจุแต่งตั้งเข้ารับราชการตำรวจ ชั้นสัญญาบัตร และชั้นประทวน ประจำปีงบประมาณ 2565 และ ประจำปีงบประมาณ 2566 จำนวน 620 อัตรา

(เพิ่มเติม…)

Continue Reading

ข่าวเศรษฐกิจ

เช็คเงินประกันรายได้ข้าวปี 65/66 งวดที่ 7 เงินเกษตรกร เข้าแล้วกี่บาท

Published

on

เช็คประกันรายได้ข้าว 2565.66 งวดที่ 7

เงินเกษตรกร เข้าแล้ว เช็คเงินประกันรายได้ข้าว 65/66 เงินช่วยเหลือเกษตรกร ธ.ก.ส. เริ่มจ่ายเงินเยียวยาเกษตรกร โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 งวดที่ 7 วันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 หากเงินประกันรายได้ไม่เข้า ติดต่อสอบถาม กรมส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดหรือ ธ.ก.ส. ใกล้บ้านได้

(เพิ่มเติม…)

Continue Reading

Breaking News

เช็คเงินประกันรายได้ข้าวปี 65/66 เงินช่วยเหลือเกษตรกร ไร่ละ 1,000 บาท โอนเงินแล้ว

Published

on

เงินประกันรายได้ข้าวเข้าบัญชีแล้ว (1)

เช็คเงินประกันรายได้ข้าว 65/66 และเงินช่วยเหลือเกษตรกร ไร่ละ 1,000 บาท ธ.ก.ส.โอนเงินเกษตรกร เข้าบัญชีแล้ว เช็คเงินประกันราคาข้าว ปี 65/66 และจังหวัดไหนบ้างที่ได้เงิน ธ.ก.ส. โอนเข้าบัญชีเกษตรกร

เช็คเงินประกันรายได้ข้าว 2565/66 

โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 หรือ ประกันรายได้ข้าว ปี ธ.ก.ส. จะโอนเงินประกันราคาข้าว ปี 65/66 ล่าสุด เข้าบัญชีของเกษตรกร สำหรับเกษตรกรที่แจ้งวันเก็บเกี่ยวก่อนวันที่ 15 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 ครอบคลุมกลุ่มเกษตรกร 73% ของเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร โดยมีราคาเกณฑ์ กลางอ้างอิงและส่วนต่างการชดเชยสำหรับเกษตรกรที่แจ้งเก็บเกี่ยวในแต่ละงวด สำหรับในงวดที่ 7 – งวดที่ 33 ก็จะประกาศทุก 7 วัน ขอให้ติดตามการประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงได้ที่ เว็บไซต์กรมการค้าภายใน www.dit.go.th หรือเพจเฟซบุ๊ก กรมการค้าภายใน DIT วิทยุชุมชน หรือเสียงตามสาย

เช็คเงินประกันราคาข้าวปี 65/66 ล่าสุด

ธ.ก.ส. จะโอนเงินประกันราคาข้าว ปี 65/66 ล่าสุด  งวดที่ 1-6 สำหรับเกษตรกรที่แจ้งวันเก็บเกี่ยวก่อนวันที่ 15 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565ืรายละเอียดดังนี้

  1. งวดที่ 1 เก็บเกี่ยวก่อน 15 ตุลาคม 2565
    • ข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ข้าวเปลือกปทุมธานี ไม่ต้องจ่าย เพราะราคาสูงกว่าที่ประกันรายได้
    • ข้าวเปลือกเจ้า ราคา 9,583.20 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 416.80 บาท ได้รับเงินสูงสุด 12,504 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 453,887 ครัวเรือน
    • ข้าวเปลือกเหนียว ราคา 11,140.10 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 859.90 บาท ได้รับเงินสูงสุด 13,758.40 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 50,443 ครัวเรือน 
เงินประกันรายได้ข้าว งวดที่ 1

งวดที่ 2 เก็บเกี่ยว 15 – 21 ตุลาคม 2565

  • ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคา 15,401.02 บาทต่อตัน
  • ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคา 14,514.52 บาทต่อตัน
  • ข้าวเปลือกปทุมธานี ราคา 11,357.06 บาทต่อตัน ไม่ต้องจ่าย เพราะราคาสูงกว่าที่ประกันรายได้
  • ข้าวเปลือกเจ้า ราคา 9,555.32 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 444.68 บาท ได้รับเงินสูงสุด 13,340.40 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 49,175 ครัวเรือน
  • ข้าวเปลือกเหนียว ราคา 11,606.47 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 393.53 บาท ได้รับเงินสูงสุด 6,296.48 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 57,620 ครัวเรือน
เงินประกันรายได้ข้าว งวดที่ 2

งวดที่ 3 เก็บเกี่ยว 22 – 28 ตุลาคม 2565

  • ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคา 15,450.84 บาทต่อตัน
  • ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคา 14,518.91 บาทต่อตัน
  • ข้าวเปลือกปทุมธานี ราคา 11,304.50 บาทต่อตัน ไม่ต้องจ่าย เพราะราคาสูงกว่าที่ประกันรายได้
  • ข้าวเปลือกเจ้า ราคา 9,551.88 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 448.12 บาท ได้รับเงินสูงสุด 13,443.60 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 30,138 ครัวเรือน
  • ข้าวเปลือกเหนียว ราคา 11,719.40 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 280.60 บาท ได้รับเงินสูงสุด 4,489.60 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 36,047 ครัวเรือน
เงินประกันรายได้ข้าว งวดที่ 3

งวดที่ 4 เก็บเกี่ยว 29 ตุลาคม – 4 พฤศจิกายน 2565

  • ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคา 15,385.04 บาทต่อตัน
  • ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคา 14,001.46 บาทต่อตัน
  • ข้าวเปลือกปทุมธานี ราคา 11,143.90 บาทต่อตัน ไม่ต้องจ่าย เพราะราคาสูงกว่าที่ประกันรายได้
  • ข้าวเปลือกเจ้า ราคา 9,532.63 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 467.37 บาท ได้รับเงินสูงสุด 14,021.10 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 50,472 ครัวเรือน
  • ข้าวเปลือกเหนียว ราคา 11,982.94 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 17.06 บาท ได้รับเงินสูงสุด 272.96 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 120,666 ครัวเรือน
เงินประกันรายได้ข้าว งวดที่ 4

·  งวดที่ 5 เก็บเกี่ยว 5 – 11 พฤศจิกายน 2565
 

  • ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคา 15,009.64 บาทต่อตัน
  • ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคา 14,197.71 บาทต่อตัน
  • ข้าวเปลือกเหนียว ราคา 12,225.53 บาทต่อตัน ไม่ต้องจ่าย เพราะราคาสูงกว่าที่ประกันรายได้
  • ข้าวเปลือกปทุมธานี ราคา 10,874.04 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 125.96 บาท ได้รับเงินสูงสุด 3,149 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 6,268 ครัวเรือน
  • ข้าวเปลือกเจ้า ราคา 9,467.85 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 532.15 บาท ได้รับเงินสูงสุด 15,964.50 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 53,964 ครัวเรือน
เงินประกันรายได้ข้าว งวดที่ 5

งวดที่ 6 เก็บเกี่ยว 12 – 18 พฤศจิกายน 2565  โอนพร้อมกันทั่วประเทศ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2565

  • ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคา 14,140.32 บาทต่อตัน
  • ข้าวเหนียว ราคา 12,188.36 บาทต่อตัน ไม่ต้องจ่าย เพราะราคาสูงกว่าที่ประกันรายได้
  • ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคา 14,603.47 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 396.53 บาท ได้รับเงินสูงสุด 5,551.42 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 856,336 ครัวเรือน
  • ข้าวเปลือกปทุมธานี ราคา 10,556.81 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 433.19 บาท ได้รับเงินสูงสุด 10,829.75 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 5,149 ครัวเรือน
  • ข้าวเปลือกเจ้า ราคา 9,370.09 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 629.91 บาท ได้รับเงินสูงสุด 18,897.30 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 47,176 ครัวเรือน

เงินช่วยเหลือเกษตรกร ไร่ละ 1,000 บาท

โครงการจ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกรค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าวการปีการผลิต 2565/66 (โครงการไร่ละ 1,000 บาท) เป็นเงินช่วยเหลือเกษตรกร ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 ไร่ หรือไม่เกิน 20,000 บาทต่อครัวเรือน 

เงินเกษตรกร ไร่ละ 1,000 บาท เข้าวันไหน

  • 24 พ.ย. 2565 โอนรวม 804,017 ครัวเรือน จำนวนเงิน 10,015.485 ล้านบาท ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ เพชรบูรณ์ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ อุทัยธานี ตาก เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน และจังหวัดลำพูน

  • 25 พ.ย. 2565 โอนรวม 985,871 ครัวเรือน จำนวนเงิน 10,841.001 ล้านบาท ในพื้นที่จังหวัดลำปาง น่าน แพร่ อุดรธานี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และ จังหวัดอุบลราชธานี

  • 26 พ.ย. 2565 โอนรวม 978,459 ครัวเรือน จำนวนเงิน 11,036.883 ล้านบาท ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ นครราชสีมา และจังหวัดยโสธร

  • 27 พ.ย. 2565 โอนรวม 980,489 ครัวเรือน จำนวนเงิน 11,369.183 ล้านบาท ในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู หนองคาย มุกดาหาร บึงกาฬ ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และจังหวัดชัยภูมิ

  • 28 พ.ย. 2565 โอนรวม 546,458 ครัวเรือน จำนวนเงิน 7,354.491 ล้านบาท ในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ  ชัยนาท นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง สมุทรปราการ สระแก้ว กาญจนบุรี นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สุพรรณบุรี กระบี่ ชุมพร พังงา ภูเก็ต ระนอง สุราษฎร์ธานี ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พัทลุง ยะลา สงขลา สตูล ก.ท.ม. และจังหวัดเลย

เช็คเงินประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66

  1. เข้าเว็บไซต์ chongkho.inbaac.com
  2. กรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมกดค้นหา
  3. สำหรับผู้ที่ได้รับเงินระบบจะขึ้นข้อมูลว่า “โอนเงินเรียบร้อยแล้ว” โดยจะแสดงชื่อโครงการ, เลขที่บัญชี, วันที่โอน, สาขา ธ.ก.ส. และสถานะ
  4. ทั้งนี้ การเช็คเงินประกันรายได้ข้าว 2564 หากผู้ที่ไม่ใช่เกษตรกรตรวจสอบระบบจะขึ้นข้อมูลว่า “ไม่พบข้อมูลการลงทะเบียน (โปรดติดต่อหน่วยงานที่รับขึ้นทะเบียนเกษตรกรตามชนิดพืชที่ได้รับสิทธิตามโครงการ)”
  5.  
  6. กรณีที่ลูกค้าสมัครใช้บริการ BAAC Connect สามารถแจ้งเตือนเงินเข้าบัญชีผ่าน LINE Official BAAC Family หรือดาวน์โหลด แอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile ตลอด 24 ชั่วโมง 
  7.  
  8. ทั้ง 2 โครงการพร้อมโอนงวดแรก วันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 และเกษตรกรสามารถตรวจสอบผลการโอนเงินได้ทางแอปพลิเคชั่น ธ.ก.ส. A-Mobile และ A-Mobile Plusตลอด 24 ชั่วโมงและจะมีข้อความแจ้งเตือนเงินเข้าบัญชีผ่าน LINE Official BAAC Family กรณีที่ลูกค้าสมัครใช้บริการ BAAC Connect รวมถึงสามารถเบิกถอนเงินสดผ่านตู้ ATM ของ ธ.ก.ส. ทั่วประเทศ

Continue Reading
Advertisement

Trending

Copyright © 2023 katipnews.com กระติบนิวส์ best counter